Search

การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งนับเป็นแผนที่ใช้มายาวนานที่สุด

คู่มือฉบับย่อ โครงสร้างพลังงานไทย ทำไม #ค่าไฟแพง

ชวนทำความเข้าใจโครงสร้างค่าไฟผ่านข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงาน โรงไฟฟ้าทั้งหมดในไทยมีกี่โรง ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วไฟฟ้าของไทยมาจากเชื้อเพลิงชนิดใด เป็นสัดส่วนเท่าไร เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไหนผลิตไฟฟ้า รวมถึงชวนดูการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในแผน PDP ที่ส่งผลต่อค่าไฟของเรา ชวนดูข้อมูลว่าเราจะไปสู่โซลาร์ภาคประชาชนได้หรือไม่ และเราจะไปถึง Net Zero ทันเวลาไหม

แผนพลังงานชาติ (NEP) ที่เพิ่งจะมี กับแผน PDP ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม

แผนพลังงานชาติ (NEP) คืออะไร  ทำไมเพิ่งจะมี ?   แผนพลังงานชาติ (National Energy

การใช้ไฟฟ้าพีค 34,443.1 MW ไม่ว่าจะพีคแค่ไหนแต่สำรองไฟก็ยังล้นเกิน

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน  จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว  หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง […]

แผน PDP ขาดประสิทธิภาพ นำไปสู่การลงทุนในโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น

PDP แต่ละฉบับกำหนดกำลังการผลิตไฟฟ้าไว้เท่าไร

กำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ

‘ค่าไฟฟ้าฐาน’ ในบิลค่าไฟ มีส่วนประกอบของ ‘ค่าการผลิต’ ที่คำนวณจากสมมติฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึง ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย  การที่รัฐวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นทุนค่าการผลิตสูงขึ้น ทำให้เราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยไม่จำเป็นผ่านบิลค่าไฟ และการมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ค่าไฟขึ้นในทันที แต่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลที่จะเรียกเก็บเลย หรือค่อยทยอยเรียกเก็บทีหลัง เรียกได้ว่าไม่จ่ายวันนี้ ก็ต้องจ่ายในอนาคตอยู่ดี เพราะถูกล็อกไว้ด้วยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นมากแค่ไหน ซึ่งทำให้เราต้องแบกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปกติแล้ว การสำรองไฟฟ้าจะคำนวณจากค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปี แล้วสำรองเกินไว้อีก 15% เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ แต่จากกราฟจะเห็นว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และสูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ ไปค่อนข้างมาก ซึ่งสิ่งนี้เองที่ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟของเราแพงเกินความจำเป็น เพราะการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้น ต่ำกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบอย่างมาก เท่ากับว่าโรงไฟฟ้าหลายๆ โรงที่เรามี ก็ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เพราะเราใช้ไฟไม่ถึง แต่เนื่องจากเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของรัฐกับผู้ผลิตเอกชน กำหนดให้รัฐต้องจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าอยู่ดี ไม่ว่าจะเดินเครื่องหรือไม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า ‘ค่าความพร้อมจ่าย’ และค่าใช้จ่ายนั้นก็ถูกผลักภาระมาไว้ในบิลค่าไฟของเราทุกคน

ภาคประชาชนเรียกร้องปิดสวิตช์ตัวการจริงที่ทำให้ค่าไฟแพง

ภาคประชาชนจัดเวทีเสวนาคู่ขนานวัน Earth Hour เปิดโครงสร้างปัญหาค่าไฟไม่แฟร์ และชวนปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

ความไม่เป็นธรรมของค่าไฟ

ในยุคที่เรียกกันติดปากว่า “ของแพง ค่าแรงถูก” ปัญหาหนักอกของคนไทยทั้งประเทศก็คือ สินค้า และบริการที่กำลังขึ้นราคานั้นหลายชนิดไม่ใช่ของหรูหราราคาแพงที่นานๆ เราจะซื้อที แต่เป็นของที่เราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ไม่เว้นแม้แต่ “ค่าไฟฟ้า” สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตสมัยใหม่

ประเทศไทยบนทางแพร่งของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

เรากำลังยืนอยู่บนทางแพร่งระหว่างการเดินหน้าสู่พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคงพลังงาน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย LNG ของภูมิภาค

นิทรรศการ ‘ปิดสวิตช์  อะไรให้ค่าไฟแฟร์ เปิดสาเหตุ อะไรทำค่าไฟแพง’ 

เปิดสาเหตุว่าอะไรที่ทำค่าไฟในประเทศไทยนั้นมีราคาแพงผ่านข้อมูลในแต่ละชุด พร้อมชวนทุกคนมีส่วนร่วมปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง