Search

แผน PDP ขาดประสิทธิภาพ นำไปสู่การลงทุนในโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศไทย เป็นแผนแม่บทสำหรับการลงทุนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศ จะกำหนดว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าแบบใดขึ้นบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร ที่ไหน โดยใคร และเมื่อไร

กระบวนการจัดทำแผน PDP สามารถแบ่งออกได้ 2 ขั้นตอน คือ 1) การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า โดยคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน และ 2) การจัดทำแผน ซึ่งรับผิดชอบโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ภายใต้กรอบแนวนโยบายกว้างๆ ของกระทรวงพลังงาน และจะต้องผ่านการพิจารณาไปตามลำดับขั้นโดยคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ผู้ให้ความเห็นชอบคือ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ ก่อนที่จะส่งให้ ครม. เห็นชอบและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

แม้ว่าแผน PDP เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว แต่กลับมีการปรับเปลี่ยนทุกๆ 2-3 ปี ไม่ว่าจะโดยผ่านการทบทวนแผนหรือการจัดทำแผนขึ้นใหม่

การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเป็นตัวกำหนดปริมาณโรงไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอและรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของระบบในประเทศ แต่การพยากรณ์ที่ไม่เที่ยงตรงก็อาจจะนำไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้าปริมาณมากเกินไปและเป็นภาระทางการเงินมหาศาล

แผน PDP ที่ขาดประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการลงทุนเกินความจำเป็น อีกทั้งยังไม่คำนึงถึงต้นทุนที่ถูกลงเรื่อยๆ ของพลังงานหมุนเวียนอย่างแสงอาทิตย์ สุดท้ายภาระที่เกิดขึ้นก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคทุกคนที่ต้องจ่ายค่าไฟ


หมายเหตุ มีการปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยอยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก?

พีรยา พูลหิรัญ และธัญญาภรณ์ สุรภักดีโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย (JET in Thailand) ‘การรับมือกับวิกฤติโลกเดือด’

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ประชาชนจาก 5 ภูมิภาค ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐทบทวนร่างแผน PDP2024 และขยายเวลาการรับฟังความคิดเห็น

ตัวแทนประชาชน 5 ภาคเรียกร้องรัฐทบทวนร่างแผน PDP 2024

เสียงจากประชาชน 5 ภูมิภาค ต่อร่างแผน PDP2024