Search

กำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ

‘ค่าไฟฟ้าฐาน’ ในบิลค่าไฟ มีส่วนประกอบของ ‘ค่าการผลิต’ ที่คำนวณจากสมมติฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึง ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย 

การที่รัฐวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นทุนค่าการผลิตสูงขึ้น ทำให้เราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยไม่จำเป็นผ่านบิลค่าไฟ และการมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ค่าไฟขึ้นในทันที แต่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลที่จะเรียกเก็บเลย หรือค่อยทยอยเรียกเก็บทีหลัง เรียกได้ว่าไม่จ่ายวันนี้ ก็ต้องจ่ายในอนาคตอยู่ดี เพราะถูกล็อกไว้ด้วยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นมากแค่ไหน ซึ่งทำให้เราต้องแบกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปกติแล้ว การสำรองไฟฟ้าจะคำนวณจากค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปี แล้วสำรองเกินไว้อีก 15% เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

แต่จากกราฟจะเห็นว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และสูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ ไปค่อนข้างมาก ซึ่งสิ่งนี้เองที่ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟของเราแพงเกินความจำเป็น เพราะการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้น ต่ำกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบอย่างมาก เท่ากับว่าโรงไฟฟ้าหลายๆ โรงที่เรามี ก็ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เพราะเราใช้ไฟไม่ถึง

แต่เนื่องจากเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของรัฐกับผู้ผลิตเอกชน กำหนดให้รัฐต้องจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าอยู่ดี ไม่ว่าจะเดินเครื่องหรือไม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า ‘ค่าความพร้อมจ่าย’ และค่าใช้จ่ายนั้นก็ถูกผลักภาระมาไว้ในบิลค่าไฟของเราทุกคน

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 

สำรวจความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมดูว่ากลุ่มบริษัทไหนได้โควต้าบ้าง

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ชวนโหวตความเห็นต่อร่างแผน PDP 2024

เสียงโหวตของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนมีความหมาย