Search

รับฟังความเห็นแบบใด ทำไมยังไม่เห็นร่างฯ EnLAW เรียกร้องเปิดร่าง PDP ต่อสาธารณะ   

(10 มิ.ย. 67) สืบเนื่องจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ประกาศจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อ ‘แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 – 2580 หรือ PDP 2024’ โดยกำหนดรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ www.eppo.go.th และ Facebook page: EPPO Thailand ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 19 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคใต้และภาคเหนือ เพื่อที่จะนำความเห็นทั้งหมดมาปรับปรุง และนำมารวมกันอยู่ภายใต้แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) โดยระบุว่าแผนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในกันยายน 2567 

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ EnLAW เผยแพร่บทความ “(ร่าง) แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า PDP 2024 กับการรับฟังความคิดเห็นที่ประชาชนยังไม่เห็นข้อมูล” โดยระบุว่า แม้จะเข้าสู่เดือนมิถุนายนแล้ว แต่ สนพ. ยังไม่เคยเปิดเผยเนื้อหาเกี่ยวกับร่าง PDP 2024 ให้แก่สาธารณชนรับรู้ หรือรับทราบแต่อย่างใด ทำให้ยังไม่มีใครที่ได้เห็นแผนดังกล่าวก่อนที่จะถึงวันรับฟังความคิดเห็น 

“ทั้งๆ ที่แผน PDP ถือเป็นแผนระดับชาติของรัฐที่มีการกำหนดทิศทางการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงค่าไฟของคนภายในประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ สนพ. จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกบัญญัติรับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย”

พร้อมกันนี้ EnLaw เรียกร้องให้ สนพ. ต้องเผยแพร่ร่างแผน PDP 2024 และข้อมูลที่ประชาชนจำเป็นต้องรับทราบเพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็น ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้โดยสะดวก ทั้งโดยการปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ และเผยแพร่บนช่องทางสื่อสารออนไลน์ ก่อนเริ่มการจัดกระบวนรับฟังความคิดเห็นล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้ประชาชนภาคส่วนต่างๆ มีเวลาเพียงพอต่อการศึกษาข้อมูลทำความเข้าใจร่างแผน PDP 2024 ทำกระบวนการปรึกษาหารือ และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP ได้อย่างเต็มที่ 

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://enlawfoundation.org/pdp2024-where-is-draft/ 

ข่าวยอดนิยม

เสียงโหวตของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนมีความหมาย
หยุดเซ็นโรงใหม่ ชะลอโรงที่เซ็นไปแล้ว หนุนโซลาร์เซลล์
โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน  จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว  หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง […]

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยอยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก?

พีรยา พูลหิรัญ และธัญญาภรณ์ สุรภักดีโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย (JET in Thailand) ‘การรับมือกับวิกฤติโลกเดือด’

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ประชาชนจาก 5 ภูมิภาค ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐทบทวนร่างแผน PDP2024 และขยายเวลาการรับฟังความคิดเห็น

ตัวแทนประชาชน 5 ภาคเรียกร้องรัฐทบทวนร่างแผน PDP 2024

เสียงจากประชาชน 5 ภูมิภาค ต่อร่างแผน PDP2024