Search

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

หากพิจารณาจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ควรมีการสร้างโรงไฟฟ้าแบบใดขึ้นบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร ที่ไหน โดยใคร และเมื่อไร จะพบว่า ประเทศไทยเริ่มบรรจุโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2550-2564 (PDP 2007) ซึ่งลงนามโดยรัฐบาลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดย พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เมื่อ 19 มิ.ย. 2550 ภายใต้แผนนี้กำหนดให้มีสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในปี 2563 และ 2564 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าโรงละ 1,000 เมกะวัตต์ รวม 4,000 เมกะวัตต์ โดยให้เหตุผลว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่จะสนองตอบความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น เพิ่มความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าและพลังงานของประเทศที่ไม่ควรขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง และลดความเสี่ยงในการขาดแคลนเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังจัดให้พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาดและมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน

ในแผน PDP2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ซึ่งอนุมัติเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2552 ตามมติ กพช. ปรับลดกำลังผลิตไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในปี 2563 และปี 2564 เหลือปีละ 1,000 เมกะวัตต์ ก่อนจะเพิ่มจำนวนในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 (PDP2010) เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2553 จำนวน 5 โรง รวม 5,000 เมกะวัตต์ ในแผน PDP 2010 นี้กำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10 ของกำลังผลิตทั้งหมดในระบบ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ และไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

มีการทบทวนการจัดตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้งหลังอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 แผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ปรับลดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือ 4 โรง รวม 4,000 เมกะวัตต์ และ ครม. มีมติในวันที่ 3 พ.ค. 2554 ให้ลดสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลงจากเดิมที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นเหลือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำลังผลิตทั้งหมดในระบบ โดยเลื่อนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี จากปี 2566 เป็นปี 2569 โดยให้เหตุผลว่า “เพื่อขยายเวลาเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์จากบทเรียนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น และสร้างการยอมรับจากประชาชน” จนทำให้ในแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เหลือ 2 โรง รวม 2,000 เมกะวัตต์

ในแผน PDP2015 ยังคงนโยบายจัดสรรโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ปลายแผนตามเดิม กำหนดแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 โรง รวม 2,000 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม ในแผน PDP2018 ถอดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไป โดยหันมาเน้นเชื้อเพลิงก๊าซและพลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก และในแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งนี้ 1 (แผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ก็ยังคงไม่ปรากฏโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในแผน 

ในขณะที่แผน PDP2024 ที่จะเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเร็วๆ นี้ จากการให้สัมภาษณ์ของวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในแผน PDP ฉบับใหม่ที่จะออกมา มีการกล่าวถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก 70-350 เมกะวัตต์ในแผน โดยยังไม่ระบุจำนวนโรงและกำลังการผลิต

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง https://justpow.co/article-nuclear-pdp/

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อสังเกตจาก JustPow ต่อคำชี้แจงของ สนพ. กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

จากการที่ภาครัฐมีการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก  5,200 เมกะวัตต์ เพิ่มอีก 3 สัญญา ในวันที่

รมว.พลังงานแจง ไม่มีอำนาจชะลอเซ็นสัญญาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

เมื่อความมั่นคงทางพลังงานเป็นมากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม

สำรวจและทำความเข้าใจความหมายเบื้องต้นของความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงประเทศไทยมีจุดยืนเป็นอย่างไรในเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน