Search

ร่างแผน PDP2024 ที่ควรจะเป็นในความคิดเห็นของชาวภาคตะวันออก 

ชาวตะวันออกเรียกร้องการทำแผน PDP ที่มีส่วนร่วมจากประชาชน หยุดเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะโรงไฟฟ้าล้นเกินแล้ว ส่วนโรงที่เซ็นไปแล้วให้ชะลอการจ่ายไฟเข้าระบบ เจรจาลดค่าความพร้อมจ่ายกับโรงไฟฟ้าที่ไม่เดินเครื่อง และภาครัฐต้องสนับสนุนประชาชนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์คนละครึ่ง 

18 มิ.ย.67 ณ ห้องประชุมบางปะกง โรงแรมที วินเทจ บางคล้า (T Vintage Hotel) จ.ฉะเชิงเทรา แสงสุรีย์ พาวเวอร์, กลุ่มพลังงานสะอาดระยอง, JustPow และเครือข่ายขับเคลื่อนค่าไฟฟ้าที่ยุติธรรม ร่วมกันจัดเวที “PDP2024 รับฟังกันแบบใดห์ : เสียงคนตะวันออกอยู่ตรงไหนในสมการ?” เพื่อระดมความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 หรือร่างแผนพีดีพี 2024 (PDP 2024)

โดยในงานเริ่มต้นด้วยเวิร์กช็อปฐานการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างพลังงานไทยและทำไม  #ค่าไฟแพง ต่อด้วยเวทีเสวนา “แผนพีดีพี 2024 : สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่ควรจะเป็น” ซึ่งในเวทีภาคตะวันออกนี้มีผู้ร่วมเสวนาทั้ง กัญจน์ ทัตติยกุล เครือข่ายเพื่อนตะวันออก, สมพร เพ็งค่ำ CHIA Platform, กมลลักษณ์ สุขพลี กลุ่มรักษ์คลองมะเดื่อ และณรงค์ชัย เหมสุวรรณ Kohjik Recharge Station

กัญจน์ ทัตติยกุล เล่าให้เห็นภาพที่มาของภาคตะวันออกในการเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ และกลายมาเป็นภูมิภาคที่มีโรงไฟฟ้ามากที่สุดของประเทศ ซี่งภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่าภาคตะวันออกกลับไม่ได้อยู่ในแผนการรับฟังความคิดเห็นร่างแผน PDP2024 ครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้เห็นว่าแผน PDP ที่ผ่านมา เป็นกระบวนการจัดทำแบบรวมศูนย์จากส่วนกลาง แต่คนในภูมิภาคต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบกลับไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการจัดทำแผน PDP เลย 

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ สมพร เพ็งค่ำ จากสถาบันพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบโดยชุมชน (CHIA Platform) ที่กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีแผนพัฒนาพลังงานอยู่ เรารู้อีกทีก็มีโรงไฟฟ้ามาตั้งที่บ้านเราแล้ว เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครเป็นคนกำหนด ประชาชนไม่เคยอยู่ในสมการ” ไม่เพียงแค่นั้น จากการที่สมพรซึ่งทำงานด้านการปฏิรูประบบสุขภาพและเคยรับเรื่องร้องเรียนกรณีผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากโรงไฟฟ้ามาก่อน ยังกล่าวว่า ในการจัดทำแผน PDP มักจะพูดถึงแต่ความมั่นคงด้านพลังงาน พูดถึงแต่การเติบโตเรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่เคยพูดถึงเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของคน และไม่นำเอาประเด็นเรื่องนี้มาใช้เป็นปัจจัยในการวางแผน ทั้งๆ ที่ความมั่นคงของชีวิตประชาชนต่างหาก ที่ควรจะถูกสนใจและบรรจุอยู่ในแผน PDP ด้วย ที่สำคัญควรจะต้องมีทางเลือกให้ประชาชนด้วย

จากนั้น กมลลักษณ์ สุขพลี กลุ่มรักษ์คลองมะเดื่อ ยังสะท้อนปัญหาในฐานะผู้ใช้ไฟว่าปัจจุบันค่าไฟแพงจนเหมือนคนไทยต้องทำงานมาเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าไฟเท่านั้น ทั้งๆ ที่ ประเทศมีไฟฟ้าสำรองเกินจนสามารถขายไฟได้ ไม่เพียงแค่นั้นการทำแผน PDP ที่พยายามจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานแต่กลับพบว่ายังมีพื้นที่ที่แม้จะอยู่ใกล้กับเขื่อนขุนด่านปราการชล แต่ไม่มี น้ำ ไฟ ใช้  ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าเราจะทำแผน PDP ไปทำไมเมื่อความมั่นคงทางพลังงานเข้าไม่ถึงทุกคน

และสุดท้ายกับ ผู้ใหญ่แต๊ก – ณรงค์ชัย เหมสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนเกาะจิก จ.จันทบุรี (ทีมเกาะจิก รีชาร์จ สเตชั่น) ตัวอย่างชุมชนที่ต้องช่วยเหลือตัวเองเนื่องด้วยไฟเข้าไม่ถึง ด้วยการใช้โซลาร์เซลล์ จนสามารถพึ่งพาได้ด้วยโซลาร์เซลล์ ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของภาครัฐที่ไม่สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างโซลาร์เซลล์เท่าที่ควร โดยได้ยกตัวอย่างบางรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีมาตรการสนับสนุนประชาชนที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐถึง 40% ของค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศไทย อย่างชุมชนเกาะจิกเอง ประชาชนกลับต้องขวนขวายและทำสิ่งนี้ด้วยทุนตัวเอง 

นอกจากนี้ ในช่วงการให้ความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 และการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอจากพื้นที่ภาคตะวันออก ยังพบว่า ในประเด็นเรื่องการเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยเบื้องต้น ชาวภาคตะวันออกมีข้อเสนอในระยะเร่งด่วนให้ภาครัฐขยายเวลารับฟังความคิดเห็นออกไป เปิดเผยข้อมูลร่างแผน PDP2024 ที่ละเอียดและให้ข้อมูลมากกว่านี้เพื่อให้ประชาชนศึกษาทำความเข้าใจ และมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากพื้นที่จริงๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยได้รับผลกระทบจากแผน PDP ที่ผ่านมาจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปรวมอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นด้วย

ในขณะที่ระยะยาว ชาวตะวันออกก็มีข้อเสนอว่า ในกระบวนการจัดทำแผน PDP ก็ควรจะมีตัวแทนของภาคประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการอยู่ในกระบวนการการจัดทำแผน PDP ด้วย และกระบวนการทำแผน PDP ก็ไม่ควรคิดเฉพาะเรื่องการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคตเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ด้วย 

ในส่วนของโครงสร้างทางพลังงาน ชาวภาคตะวันออกเห็นว่า เนื่องด้วยกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบของเรามีสูงมาก และมีไฟฟ้าสำรองรวมไปถึงโรงไฟฟ้าล้นเกินอยู่แล้ว จึงเสนอให้ 1. หยุดเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าใหม่ 2. ที่เซ็นไปแล้ว ขอให้เจรจาเลื่อนกำหนดการจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ออกไปก่อน และ 3. สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบ ขอให้เจรจาลดค่าความพร้อมจ่ายกับโรงไฟฟ้าที่ไม่เดินเครื่อง

และในส่วนของพลังงานหมุนเวียนนั้น ชาวภาคตะวันออกเสนอให้รัฐสนับสนุนการติดโซลาร์เซลล์ของประชาชนมากกว่านี้อย่างจริงจังและรวดเร็ว โดยควรมีนโยบายทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของประชาชน 50% หรือมีกองทุนกู้ยืมระยะยาวและดอกเบี้ยต่ำให้กับประชาชนที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และให้สนับสนุนการประชาชนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้สามารถขายไฟคืนแก่ภาครัฐให้ได้มากกว่านี้ และมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยากและล่าช้าเหมือนทุกวันนี้ โดยเฉพาะการให้มีระบบ Net Metering และ Smart Grid

โดยความคิดเห็นของชาวตะวันออกต่อร่างแผน PDP2024 และข้อเสนอจากพื้นที่ภาคตะวันออก อย่างละเอียดและครบถ้วนจากเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 ภาคตะวันออก จะถูกจัดทำและนำเสนออย่างสมบูรณ์อีกครั้งในเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 ที่จะจัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ในวันที่ 31 ก.ค. 67 ณ หอศิลปกรุงเทพ พร้อมกันกับความคิดเห็นและข้อเสนอที่ได้จากเวทีในภาคอื่นๆ รวมทุกภูมิภาคของประเทศไทย

JustPow ขอเชิญชวนผู้ใช้ไฟทุกภาคทั่วประเทศร่วมโหวตความเห็นต่อร่างแผน PDP 2024 เพื่อรวบรวมเป็นข้อเสนอไปยังภาครัฐ โดยสามารถเข้าไปโหวตได้ที่ https://forms.gle/TSbYPrVWLQyRmG3L6 ซึ่งประเด็นในการโหวตความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 นี้มาจากประเด็นที่อยู่ในเอกสาร “13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024” ซึ่งจัดทำโดย JustPow https://justpow.co/project-ebook-pdp/   

ข่าวยอดนิยม

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน  จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว  หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง […]

ประชาชนควรมีส่วนร่วมในแผน PDP จากระดับพื้นที่ ย้ำคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย
นักวิชาการภาคประชาชน จัดวงเสวนา “จับตาแผน PDP ใหม่ ราคาอะไรที่ประชาชนต้องจ่าย?” จาก “รายการฟังเสียงประเทศไทย” ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2024
เสียงโหวตของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนมีความหมาย

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

เมื่อความมั่นคงทางพลังงานเป็นมากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม

สำรวจและทำความเข้าใจความหมายเบื้องต้นของความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงประเทศไทยมีจุดยืนเป็นอย่างไรในเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน

ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 

สำรวจความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมดูว่ากลุ่มบริษัทไหนได้โควต้าบ้าง

การเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยอยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก?

พีรยา พูลหิรัญ และธัญญาภรณ์ สุรภักดีโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย (JET in Thailand) ‘การรับมือกับวิกฤติโลกเดือด’