Search

ค่าFt

[ชุดข้อมูล] 17 ปี การปรับค่าไฟฟ้ากับหนี้ กฟผ.

ข้อมูลประกอบด้วยประมาณการค่า Ft สำหรับใช้เรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - พฤษภาคม 2568 จากสูตรการคำนวณของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่า Ft ที่ใช้เรียกเก็บจริงตามเอกสารเผยแพร่ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), หนี้ กฟผ. จากการรับภาระส่วนต่างของค่า Ft

ค่าไฟลด แต่หนี้เพิ่ม: การลดค่าไฟที่ไม่ได้ปรับโครงสร้างพลังงานแต่ให้ กฟผ. แบกหนี้ต่อ 

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะ ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเคยได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4.72 บาท/หน่วย อันนำมาซึ่งภาระ ‘หนี้ กฟผ.’ ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท แม้ว่าในปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจะลดลงจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง และในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ ก็ยังคงมีการดำเนินแนวทางให้ กฟผ. รับภาระหนี้อย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติกำหนดเป้าหมายค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วยไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2568 กกพ. จึงมีมติปรับลดค่าไฟฟ้ารอบเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เพื่อสนองนโยบายรัฐ โดยเป็นการนำเงินเรียกคืนจากผลประโยชน์ส่วนเกิน (Claw Back) ประมาณ […]

จับตาแผน PDP ฉบับใหม่ ต้องเป็นยังไงค่าไฟถึงจะถูกลง

นักวิชาการภาคประชาชน จัดวงเสวนา “จับตาแผน PDP ใหม่ ราคาอะไรที่ประชาชนต้องจ่าย?” จาก “รายการฟังเสียงประเทศไทย” ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2024

การใช้ไฟฟ้าพีค 34,443.1 MW ไม่ว่าจะพีคแค่ไหนแต่สำรองไฟก็ยังล้นเกิน

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน  จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว  หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง […]

ภาคประชาชนเรียกร้องปิดสวิตช์ตัวการจริงที่ทำให้ค่าไฟแพง

ภาคประชาชนจัดเวทีเสวนาคู่ขนานวัน Earth Hour เปิดโครงสร้างปัญหาค่าไฟไม่แฟร์ และชวนปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

ค่าไฟฟ้า ปี 2525-2567 และการเข้ามาของค่า FT

บิลค่าไฟที่เราจ่าย = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) +

ความไม่เป็นธรรมของค่าไฟ

ในยุคที่เรียกกันติดปากว่า “ของแพง ค่าแรงถูก” ปัญหาหนักอกของคนไทยทั้งประเทศก็คือ สินค้า และบริการที่กำลังขึ้นราคานั้นหลายชนิดไม่ใช่ของหรูหราราคาแพงที่นานๆ เราจะซื้อที แต่เป็นของที่เราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ไม่เว้นแม้แต่ “ค่าไฟฟ้า” สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตสมัยใหม่

ประเทศไทยบนทางแพร่งของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

เรากำลังยืนอยู่บนทางแพร่งระหว่างการเดินหน้าสู่พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคงพลังงาน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย LNG ของภูมิภาค

นิทรรศการ ‘ปิดสวิตช์  อะไรให้ค่าไฟแฟร์ เปิดสาเหตุ อะไรทำค่าไฟแพง’ 

เปิดสาเหตุว่าอะไรที่ทำค่าไฟในประเทศไทยนั้นมีราคาแพงผ่านข้อมูลในแต่ละชุด พร้อมชวนทุกคนมีส่วนร่วมปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

ร่วมส่งเสียง #ค่าไฟต้องแฟร์

ชวนลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก 5 ข้อเสนอต่อนโยบายพลังงานเพื่อค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมและสร้างความยั่งยืน เพื่อนำเสนอข้อเสนอต่อนโยบายพลังงานของรัฐบาลใหม่ มุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าให้ถูกลง เป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย และสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมไทย