Search

ค่าไฟฟ้า ปี 2525-2567 และการเข้ามาของค่า FT

บิลค่าไฟที่เราจ่าย = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) + ค่าบริการรายเดือน (แตกต่างตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ก่อนจะมีค่า Ft การจะขึ้นค่าไฟต้องทำผ่านมติ ครม. ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนอยากเสียความนิยมด้วยการเป็นคนผ่านมติ ครม. ขึ้นค่าไฟ จึงทำให้เกิดการนำค่า Ft มาใช้เป็นครั้งแรก ในปี 2535 ยุครัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เพื่อปรับค่าไฟฟ้าทุกๆ 4 เดือนให้สะท้อนต้นทุน ทั้งยังเป็นปีเดียวกับที่มีการแก้ไข พ.ร.บ. กฟผ. เพื่อเปิดทางให้นำโรงไฟฟ้าที่ใหม่และทันสมัยที่สุดของ กฟผ. มาจัดตั้งเป็นตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรก และนำหุ้นมาขายให้แก่นักลงทุน ตามนโยบายการแปรรูปกิจการไฟฟ้า

แม้ว่าจุดเริ่มต้นของค่า Ft จะมีขึ้นเพื่อส่งผ่านความเสี่ยงเรื่องราคาเชื้อเพลิงที่ผันผวนไปยังผู้บริโภค แต่ตั้งแต่ตุลาคม 2548 ได้ขยายครอบคลุมต้นทุนของโรงงานไฟฟ้าแห่งใหม่ สัญญาซื้อขายก๊าซแบบไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (take-or-pay gas contracts) ค่ารายรับไม่เป็นไปตามเป้าเนื่องจากการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่คลาดเคลื่อน และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน มีการบวกรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากที่ระบุข้างต้นไว้ในค่า Ft มากขึ้นอีกโดยตอนนี้ ค่า Ft หมายถึง ค่าเชื้อเพลิงฐาน [ค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ที่สอดคล้องกับค่า Ft ขายปลีก จำแนกตามประเภทเชื้อเพลิง] + ค่าประมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่เปลี่ยนไปจากค่าไฟฟ้าฐาน [ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments: AP) + ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payments: EP) + ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ (Policy Expense: PE) ในส่วนของโรงไฟฟ้าเอกชน] + การชดเชยกรณีหน่วยขายจริงต่ำกว่าค่าที่พยากรณ์ไว้

ค่า Ft จึงกลายเป็นกลไกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการันตีผลกำไรให้ผู้ผลิตไฟฟ้า แล้วผลักภาระและความเสี่ยงต้นทุนค่าไฟทั้งหมดไปให้ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายแทน 

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อสังเกตจาก JustPow ต่อคำชี้แจงของ สนพ. กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

จากการที่ภาครัฐมีการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก  5,200 เมกะวัตต์ เพิ่มอีก 3 สัญญา ในวันที่

รมว.พลังงานแจง ไม่มีอำนาจชะลอเซ็นสัญญาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรัฐบาลเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

การเซ็นสัญญาซื้อไฟจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จะตามมาด้วยการที่ภาครัฐจะต้องจ่ายค่า FiT หรือเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว