ค่าไฟ

พีระพันธุ์เรียกร้องเปิดสัญญาซื้อไฟจากเอกชน และปรับสัญญาเพื่อลดภาระค่าไฟของประชาชน

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นแขกรับเชิญในรายการ ‘Behind the Bill – ผลประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า’ ผ่านการไลฟ์สดโดยเฟซบุ๊กเพจ ‘โอกาส Chance’ เมื่อวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยเปิดรายละเอียดโครงสร้างการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ทำให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุน และแนวทางในการทำให้ค่าไฟของคนไทยถูกลง  โดยในช่วงแรกเป็นการให้ภาพและข้อมูลพื้นฐานในการปรับค่าไฟ พร้อมชี้ให้เห็นว่าแม้ค่าไฟจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าค่าไฟแพง เนื่องจากต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ “หากดูจากตัวเลขอย่างเดียว ค่าไฟของเราที่ 4.15 บาทในช่วงต้นปี 2567 อาจดูไม่แพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น เวียดนาม (3.16 บาท), ฟิลิปปินส์ (5.3 บาท), อินโดนีเซีย (3.16 บาท), มาเลเซีย (1.87 บาทเพราะรัฐบาลช่วยออกเหมือนค่าน้ำมัน), สิงคโปร์ (7.22 บาท), เกาหลีใต้ (4.48 บาท), และสหรัฐอเมริกา (6.12 บาท) แต่ความเป็นจริงถ้าเทียบกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแล้ว ค่าไฟของเราถือว่าแพง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดว่า […]

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net Zero จะรักสิ่งแวดล้อมยังไง

[ชุดข้อมูล] 17 ปี การปรับค่าไฟฟ้ากับหนี้ กฟผ.

ข้อมูลประกอบด้วยประมาณการค่า Ft สำหรับใช้เรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - พฤษภาคม 2568 จากสูตรการคำนวณของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่า Ft ที่ใช้เรียกเก็บจริงตามเอกสารเผยแพร่ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), หนี้ กฟผ. จากการรับภาระส่วนต่างของค่า Ft

ค่าไฟลด แต่หนี้เพิ่ม: การลดค่าไฟที่ไม่ได้ปรับโครงสร้างพลังงานแต่ให้ กฟผ. แบกหนี้ต่อ 

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะ ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเคยได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4.72 บาท/หน่วย อันนำมาซึ่งภาระ ‘หนี้ กฟผ.’ ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท แม้ว่าในปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจะลดลงจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง และในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ ก็ยังคงมีการดำเนินแนวทางให้ กฟผ. รับภาระหนี้อย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติกำหนดเป้าหมายค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วยไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2568 กกพ. จึงมีมติปรับลดค่าไฟฟ้ารอบเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เพื่อสนองนโยบายรัฐ โดยเป็นการนำเงินเรียกคืนจากผลประโยชน์ส่วนเกิน (Claw Back) ประมาณ […]

ข้อสังเกตจาก JustPow ต่อคำชี้แจงของ สนพ. กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

จากการที่ภาครัฐมีการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก  5,200 เมกะวัตต์ เพิ่มอีก 3 สัญญา ในวันที่

รมว.พลังงานแจง ไม่มีอำนาจชะลอเซ็นสัญญาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรัฐบาลเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

การเซ็นสัญญาซื้อไฟจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จะตามมาด้วยการที่ภาครัฐจะต้องจ่ายค่า FiT หรือเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

ลดค่าไฟ อย่าตัดแค่ค่า Adder/FiT : JustPow เสนอถ้าตัดค่าความพร้อมจ่ายด้วย ค่าไฟจะเหลือ 3.64 บาท/หน่วย

ในช่วงต้นปี 2568 รัฐบาลเดินหน้าลดภาระค่าครองชีพของประชาชนผ่านมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับค่าไฟฟ้าเรียกเก็บสำหรับรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2568 อยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย ลดลงจากงวดก่อนหน้า 3 สตางค์/หน่วย โดยยืดการจ่ายหนี้ค่าไฟฟ้าและค่าก๊าซฯ ของ กฟผ. และ ปตท. ที่สะสมอยู่จำนวน 85,226 ล้านบาท ออกไปก่อน ความพยายามที่จะลดค่าไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยเน้นย้ำที่จะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะผู้ช่วยหาเสียของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568  ประกาศถึงความตั้งใจที่จะลดค่าไฟฟ้าให้อยู่ที่ 3.70 บาท/หน่วยให้ได้  เพื่อตอบรับนโยบายลดค่าไฟฟ้านี้ ในวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน […]

เสียงจากเวทีที่อุบลฯ ไม่เอาเขื่อน(เพิ่ม)ได้ไหม

เสวนา “คนอุบลเอาบ่? : น้ำท่วม เขื่อนใหม่ ค่าไฟแพง” เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 68 เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers : Against Dams)