ก๊าซธรรมชาติ

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net Zero จะรักสิ่งแวดล้อมยังไง

ค่าไฟลด แต่หนี้เพิ่ม: การลดค่าไฟที่ไม่ได้ปรับโครงสร้างพลังงานแต่ให้ กฟผ. แบกหนี้ต่อ 

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะ ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเคยได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4.72 บาท/หน่วย อันนำมาซึ่งภาระ ‘หนี้ กฟผ.’ ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท แม้ว่าในปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจะลดลงจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง และในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ ก็ยังคงมีการดำเนินแนวทางให้ กฟผ. รับภาระหนี้อย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติกำหนดเป้าหมายค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วยไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2568 กกพ. จึงมีมติปรับลดค่าไฟฟ้ารอบเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เพื่อสนองนโยบายรัฐ โดยเป็นการนำเงินเรียกคืนจากผลประโยชน์ส่วนเกิน (Claw Back) ประมาณ […]

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

CFNT เปิดผลวิจัยประเมินมูลค่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลในอนาคต และเสวนาแผน PDP 2024

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี

คู่มือฉบับย่อ โครงสร้างพลังงานไทย ทำไม #ค่าไฟแพง

ชวนทำความเข้าใจโครงสร้างค่าไฟผ่านข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงาน โรงไฟฟ้าทั้งหมดในไทยมีกี่โรง ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วไฟฟ้าของไทยมาจากเชื้อเพลิงชนิดใด เป็นสัดส่วนเท่าไร เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไหนผลิตไฟฟ้า รวมถึงชวนดูการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในแผน PDP ที่ส่งผลต่อค่าไฟของเรา ชวนดูข้อมูลว่าเราจะไปสู่โซลาร์ภาคประชาชนได้หรือไม่ และเราจะไปถึง Net Zero ทันเวลาไหม

ส่วนต่างที่ต้องจ่ายในการซื้อก๊าซ ที่ราคา Pool gas

การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ราคาจากระบบ Pool Gas ที่ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เมียนมา และก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่ต้องนำเข้า โดยประเทศไทยเริ่มนำเข้าก๊าซ LNG มาตั้งแต่ปี 2554

สัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 2529-2566

เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับต้นทุนค่าไฟฟ้า หากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เราใช้มากถึง 40-72% มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซฟอสซิล ก๊าซฟอสซิล รวมถึงก๊าซเหลวแอลเอ็นจี (LNG) ที่ประเทศไทยใช้จัดเป็นหนึ่งในพลังงานฟอสซิล ในภาวะโลกร้อนและภาวะโลกรวน และการที่ไทยมีเป้าหมายว่าปี 2608 (2065) จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ แต่โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 62% ของก๊าซคาร์บอนฯ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ประเทศไทยจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร ในเมื่อการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพิงฟอสซิลเป็นหลัก เช่น ในปี 2566 ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากการใช้พลังงานฟอสซิล 71.9% ประกอบด้วยก๊าซฟอสซิล 58% ถ่านหิน 13.5% และดีเซล 0.4% โดยที่ยังไม่นับรวมไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศลาวที่มีสัดส่วน 14.7% (ในจำนวนนี้ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินและเขื่อน) ขณะที่มีการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ 3% และพลังงานหมุนเวียน 10.4% ที่ผ่านมา เรามีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่ตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานของประเทศ โดยมีการทำแผนตั้งแต่ปี 2554 ผลปรากฏว่าในปี 2566 ประเทศไทยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 10.4% เท่านั้น

ภาคประชาชนเรียกร้องปิดสวิตช์ตัวการจริงที่ทำให้ค่าไฟแพง

ภาคประชาชนจัดเวทีเสวนาคู่ขนานวัน Earth Hour เปิดโครงสร้างปัญหาค่าไฟไม่แฟร์ และชวนปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

นิทรรศการ ‘ปิดสวิตช์  อะไรให้ค่าไฟแฟร์ เปิดสาเหตุ อะไรทำค่าไฟแพง’ 

เปิดสาเหตุว่าอะไรที่ทำค่าไฟในประเทศไทยนั้นมีราคาแพงผ่านข้อมูลในแต่ละชุด พร้อมชวนทุกคนมีส่วนร่วมปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง