Search

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งนับเป็นแผนที่ใช้มายาวนานที่สุด ตั้งแต่ประเทศไทยมีแผน PDP มา ซึ่ง PDP เป็นแผนแม่บทที่กำหนดการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศ เพื่อนำไปสู่การวางแผนล่วงหน้าในระยะเวลา 15-20 ปีว่า ประเทศไทยจะต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ประเภทใด จะถูกสร้างเมื่อไหร่ โดยใคร และทั้งหมดนี้นี่เองที่จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อมายังบิลค่าไฟของประชาชน 

ในขณะที่แผน PDP นั้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และกระเป๋าสตางค์ของประชาชนโดยตรงในนามบิลค่าไฟ แต่กลับกลายเป็นว่าร่างแผน PDP2024 กำลังจะเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ www.eppo.go.th และ Facebook page: EPPO Thailand ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 19 มิถุนายน 2567 สำหรับภาคใต้และภาคเหนือ รวมแล้วเพียง 2 วันและเปิดในระบบออนไลน์เท่านั้น 

นอกจากการจัดทำ “13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024” แล้ว JustPow ร่วมกับเครือข่ายองค์กรต่างๆ ทั้ง JET in Thailand, Data Hatch, Greenpeace Thailand, International Rivers, สภาองค์กรของผู้บริโภค, Epigram News, Lanner, Louder และแสงสุรีย์พาวเวอร์ ร่วมกันจัดเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP2024 พร้อมจัดทำข้อเสนอจากทุกภาคทั่วประเทศ

โดยในเวทีระดมความคิดเห็นในแต่ละภูมิภาค มาพร้อมกิจกรรมทั้งเวิร์กช็อปฐานการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างพลังงานไทยและทำไมค่าไฟแพง เวทีเสวนา “แผนพีดีพี 2024 : สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่ควรจะเป็น” ที่ประชาชนทุกภาคส่วนแต่ละภูมิภาคจะได้ทำความเข้าใจประเด็นที่สำคัญต่างๆ ในร่างแผน PDP2024 นี้พร้อมสะท้อนถึงปัญหาในและพื้นที่และสิ่งที่อยากจะให้เป็นในอนาคตทั้งในเชิงโครงสร้างและในเชิงพื้นที่ รวมไปถึงกิจกรรมลงความคิดเห็น “แผนพีดีพี 2024 ที่อยากจะเห็น” และการทำข้อเสนอในแต่ละพื้นที่ รวบรวมความคิดเห็นจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อนำเสนอต่อภาครัฐ

ซึ่งจะเริ่มต้นที่ภาคตะวันออก ในวันที่ 18 มิ.ย. นี้ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามมาด้วยภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย. ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ ในวันที่ 2 ก.ค. ที่จังหวัดสงขลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 13 ก.ค. ที่จังหวัดอุบลราชธานี ภาคตะวันตก ในวันที่ 25 ก.ค. ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และเวทีสุดท้ายที่ กทม. ในวันที่ 31 ก.ค. ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

[ชุดข้อมูล] 17 ปี การปรับค่าไฟฟ้ากับหนี้ กฟผ.

ข้อมูลประกอบด้วยประมาณการค่า Ft สำหรับใช้เรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - พฤษภาคม 2568 จากสูตรการคำนวณของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่า Ft ที่ใช้เรียกเก็บจริงตามเอกสารเผยแพร่ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), หนี้ กฟผ. จากการรับภาระส่วนต่างของค่า Ft

ค่าไฟลด แต่หนี้เพิ่ม: การลดค่าไฟที่ไม่ได้ปรับโครงสร้างพลังงานแต่ให้ กฟผ. แบกหนี้ต่อ 

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะ ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเคยได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4.72 บาท/หน่วย อันนำมาซึ่งภาระ ‘หนี้ กฟผ.’ ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท แม้ว่าในปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจะลดลงจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง และในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ ก็ยังคงมีการดำเนินแนวทางให้ กฟผ. รับภาระหนี้อย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติกำหนดเป้าหมายค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วยไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2568 กกพ. จึงมีมติปรับลดค่าไฟฟ้ารอบเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เพื่อสนองนโยบายรัฐ โดยเป็นการนำเงินเรียกคืนจากผลประโยชน์ส่วนเกิน (Claw Back) ประมาณ […]

ข้อสังเกตจาก JustPow ต่อคำชี้แจงของ สนพ. กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

จากการที่ภาครัฐมีการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก  5,200 เมกะวัตต์ เพิ่มอีก 3 สัญญา ในวันที่

รมว.พลังงานแจง ไม่มีอำนาจชะลอเซ็นสัญญาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]