พีระพันธุ์เรียกร้องเปิดสัญญาซื้อไฟจากเอกชน และปรับสัญญาเพื่อลดภาระค่าไฟของประชาชน

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นแขกรับเชิญในรายการ ‘Behind the Bill – ผลประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า’ ผ่านการไลฟ์สดโดยเฟซบุ๊กเพจ ‘โอกาส Chance’ เมื่อวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยเปิดรายละเอียดโครงสร้างการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ทำให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุน และแนวทางในการทำให้ค่าไฟของคนไทยถูกลง 

โดยในช่วงแรกเป็นการให้ภาพและข้อมูลพื้นฐานในการปรับค่าไฟ พร้อมชี้ให้เห็นว่าแม้ค่าไฟจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าค่าไฟแพง เนื่องจากต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ

“หากดูจากตัวเลขอย่างเดียว ค่าไฟของเราที่ 4.15 บาทในช่วงต้นปี 2567 อาจดูไม่แพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น เวียดนาม (3.16 บาท), ฟิลิปปินส์ (5.3 บาท), อินโดนีเซีย (3.16 บาท), มาเลเซีย (1.87 บาทเพราะรัฐบาลช่วยออกเหมือนค่าน้ำมัน), สิงคโปร์ (7.22 บาท), เกาหลีใต้ (4.48 บาท), และสหรัฐอเมริกา (6.12 บาท) แต่ความเป็นจริงถ้าเทียบกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแล้ว ค่าไฟของเราถือว่าแพง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดว่า ถึงแม้จะเทียบกับตัวเลขที่ผมบอกมันก็ครึ่งๆ กลางๆ แต่เรามีทางทำให้ต่ำกว่านี้ได้ไหม ผมคิดว่าตรงนี้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่า อย่าไปดูว่ามันถูกหรือมันแพง แต่เราต้องดูว่าทำยังไงจะให้มันลงไปได้อีกหรือไม่ ถ้าทำให้มันลงไปได้อีกก็ต้องทำ”

จากนั้น พีระพันธุ์ อธิบายถึงปัญหาค่าไฟแพงของไทยว่ามาจากสาเหตุใดบ้าง ทั้งจากการที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและขายไฟฟ้าถึง 3 หน่วยงานคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งทุกหน่วยก็ต้องบวกค่าใช้จ่าย บวกกำไร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่ทำให้ค่าไฟแพงมากกว่านั้นคือ ‘การซื้อไฟจากเอกชน’

“ในความเห็นผม ไม่จำเป็นต้องให้เอกชนร่วมผลิตไฟฟ้า เมื่อเรามีหน่วยงานหลักคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เราก็ควรที่จะหาทางทำยังไงให้หน่วยงานหลักของภาครัฐเป็นตัวที่ผลิตไฟฟ้าให้ได้ ถ้าหากว่าขีดความสามารถบางช่วงบางเวลาไม่ถึง หรือว่ามีข้อบกพร่องอะไรก็ควรจะต้องหาวิธีแก้ไข สนับสนุนตรงนั้น แต่ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นอย่างนั้น ก่อนที่ผมจะมาบริหารดูแล มันมีเป็นนโยบายแล้วอยู่ในแผน PDP ให้เอกชนเข้ามาร่วมผลิตไฟฟ้าแล้วขายไฟฟ้า พอมีภาคเอกชนเข้ามาก็มาบวกเพิ่มเข้าไปอีก ทั้งหมดนี่คือต้นทุนที่แฝงอยู่ในต้นทุนทั้งหมด บางครั้งบางช่วงมันอาจจะมีความจำเป็นมีเหตุผล แต่ไม่ได้แปลว่าตลอดเวลาแล้วเลิกไม่ได้

“ผมคิดว่าตราบใดที่เรายังมีหน่วยงานหลักคือ กฟผ. เป็นตัวผลิตไฟฟ้า เราก็ควรจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เขาดำเนินการในด้านนี้ให้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ อยู่ภายใต้กำกับดูแลด้านนโยบายภาครัฐ แปลว่าเราสามารถควบคุมราคาการผลิตหรือการชำระหนี้ได้ เพราะเขาไม่ได้มีเจตนาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหากำไร อย่างทุกวันนี้การเป็นหนี้ของเขาก็ใช้วิธียืดหนี้บ้าง เพราะว่ามีหน่วยงานภาครัฐดูแล เจ้าหนี้ก็ไม่ต้องห่วงว่าหนี้เสีย หนี้เบี้ยว ในส่วนนี้ก็สามารถบริหารจัดการได้ ผมเห็นว่าควรจะต้องส่งเสริมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นหน่วยงานที่เข้มแข็ง แล้วก็มีความมั่นคงในการประกอบการ เพื่อที่จะหาทางทำให้ต้นทุนไฟฟ้าต่ำที่สุด”

“ผมก็สงสัยว่าทำไมเรายังต้องซื้อไฟจากเอกชน การรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนเป็นปัญหาที่สุด เพราะเซ็นสัญญาไปแล้ว ตรวจดูก็ไม่ได้ เป็นความลับ ผมกำลังจะหาช่องทางที่จะแก้กฎหมาย อะไรที่รัฐทำสัญญาแล้วมันส่งผลต่อประชาชน มันต้องเปิดเผยสิ อย่าว่าแต่ประชาชนเลยผมยังขอดูไม่ได้ เขาก็บอกว่ารัฐมนตรีหรือรัฐบาลถูกจัดเป็นคนนอกสัญญา ต่อไปหลักสัญญาที่กระทบสาธารณะ กระทบเอกชนแบบนี้ต้องแก้ไข แต่สัญญาทั้งหมดมาจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไม่ได้มาจากทางกระทรวงพลังงานเลย คนเข้าใจผิดนะ กระทรวงพลังงานไม่มีอำนาจ ผมก็กำลังทำกฎหมายนี้ ไฟฟ้ามี กกพ. คุม กฟผ. ที่ต้องเป็นคนเซ็นสัญญารับซื้อก็ไม่มีสิทธิอะไร ไม่รู้ระบบอะไร แต่คนที่รับภาระคือประชาชน นี่เป็นสิ่งที่ผมพยายามเข้ามาแก้ปัญหาทั้งหมด”

“สัญญา Take or Pay มีเงื่อนไขว่ายังไงก็ต้องซื้อ ผมถึงบอกไงว่าสัญญาจะต้องมีกฎเกณฑ์กติกาในการทำมากกว่านี้ ไม่ใช่เขียนกันไปเองตามที่คู่สัญญาระหว่างคนซื้อไฟฟ้าคือ กฟผ. กับเอกชน สิ่งที่ขาดไปคือการที่หน่วยงานของรัฐจะทำสัญญาอะไรต้องอยู่บนมาตรฐานของหลักกฎหมายกลาง ว่าการทำสัญญา ลักษณะนี้ต้องทำแบบไหน เปิดเผยอะไรได้หรือไม่ได้ พอวันนี้ไม่มีต่างคนก็ต่างไปเขียนกัน” 

“กระทรวงพลังงานดูแลอยู่แค่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ส่วนการไฟฟ้าภูมิภาคกับนครหลวงอยู่กระทรวงมหาดไทย เฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเรามีกำลังผลิตอยู่ ณ สิ้นปี 2567 ประมาณกว่า 50,700 เมกะวัตต์ แต่ถ้ารวม 3 การไฟฟ้าจะอยู่เกือบ 55,000 เมกะวัตต์ แต่ในปี 2567 ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 36,000 เมกะวัตต์ และความต้องการไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 25,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นส่วนที่เกินมาประมาณ 25,000-30,000 เมกะวัตต์ สัญญาภาครัฐแบบนี้มันต้องมีองค์กรหรือมีกติกากลาง หากปล่อยให้ทำกันเองแบบนี้ผมว่าเสียหายกับประชาชนและไม่มีใครรับผิดชอบ เขาก็จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้เพราะเซ็นไปแล้ว และสัญญามีอายุ 20-25 ปี”

อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ค่าไฟแพงที่พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงก็คือ ‘ค่าเชื้อเพลิง’

“ประเทศไทยเรามีก๊าซ แต่ไม่พอใช้ เราใช้ก๊าซวันนึงประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต แต่เราขุดได้เองจากอ่าวไทยหรือว่าบนบก ประมาณ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ขาดอยู่ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ตรงที่ขาดเราเอามาจากพม่าประมาณวันละ 6-700 ล้านลูกบาศก์ฟุต ที่เหลือประมาณ 1,700-1,800 นำเข้ามาเป็น LNG จากต่างประเทศ ตรงนี้เลยมีต้นทุนสูง แล้วก็ราคาตลาดโลกก็สูง LNG ที่ว่าแพงก็มาจากหลายที่ หลากราคา เลยมาสร้างเป็นระบบ Pool Gas 

“ก๊าซอ่าวไทยก็เอาไปเข้าโรงแยก แล้วก็สกัดส่วนหนึ่งแยกมาเป็น LPG ก็คือแก๊สหุงต้ม ส่วนที่เหลือเขาก็เอามาลงขันใน Pool Gas  เพื่อมาหาราคาเฉลี่ย สมมติว่าราคาอ่าวไทยมันควรจะ 200 กว่าบาท แต่เมื่อมาเฉลี่ยกับ LNG ที่มาจากต่างประเทศหลากหลายราคา มันอยู่ที่ 400 กว่าบาท เมื่อเอามาเฉลี่ยรวมกันเลยทำให้ราคากลางที่เรียกว่า Pool Price อยู่ที่ประมาณ 320 กว่าบาท แทนที่เราจะได้เอาต้นทุนก๊าซอ่าวไทยที่ถูกกว่ามาผลิตไฟ กลับกลายเป็นว่าต้องจ่ายในราคา Pool Price 320 กว่าบาท ถ้าเราปรับโครงสร้างตรงนี้ได้ ก็จะทำให้ต้นทุนก๊าซถูกลง ผมกำลังดำเนินการที่จะปรับโครงสร้างตรงนี้อยู่ ซึ่งจะทำให้ค่าไฟถูกลงอีกในอนาคต”

ประเด็นสุดท้ายคือการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน โดยกล่าวว่า 

“ทุกประเทศทั่วโลกพยายามใช้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ถ้าผลิตไฟฟ้าจากกลุ่มนี้จะสะอาดที่สุด ไม่มีคาร์บอนเลย แต่มีข้อจำกัดคือ ไฟฟ้าเราต้องผลิตให้ได้ 24 ชั่วโมง แต่แดดกลางคืนไม่มี เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องใช้ระบบแบตเตอรี่เข้ามาเสริม ซึ่งวันนี้ยังแพงอยู่ อันที่สองคือ ลม ก็ไม่เสถียร อันที่สามคือน้ำ สามอย่างนี้เป็นตัวหลัก ต้องหาวิธีทำให้มันเสถียรให้มากสุด ต้องใช้ระบบผสมผสาน อีกอันนึงเป็นขยะ เอามาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนผลิตไฟฟ้าได้”

“ในแผนพลังงานเราต้องมาดูว่าประเทศเรามีอะไรบ้างที่สามารถเอามาผลิตไฟฟ้าได้ เรามีเศษใบไม้ เรามีเศษขยะ เอามาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้เท่าไร เรามีแดดผลิตไฟฟ้าทางโซลาร์ได้เท่าไร เสียดายเราไม่มีลมพอ เพราะฉะนั้น เราก็จะเน้นได้ที่แดดกับพวกชีวมวล แล้วยังมีตรงอื่นที่รับที่ซื้อจากต่างประเทศ เช่น พลังน้ำจากลาวในราคาที่ถูกลง แล้วมาลดในส่วนผลิตก๊าซก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงมาได้”

“ตอนนี้ผมก็กำลังจะออกกฎหมายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดของพรรคการเมืองของผมเข้าสภาแล้ว กระทรวงพลังงานได้ทำกฎหมายฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วส่งไปสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อรอบรรจุให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ กฎหมายฉบับนี้จะเปลี่ยนระบบขออนุญาต เป็นระบบแจ้งเพื่อทราบ” 

พีระพันธุ์ เล่าว่า ปัจจุบันค่าติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 150,000-170,000 บาท ล่าสุดได้เจรจากับบริษัทผู้ผลิตในจีนเพื่อขอราคาพิเศษ และกระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการออกแบบและหาโรงงานผลิต อินเวอร์เตอร์ของคนไทยเอง คาดว่าจะลดต้นทุนการติดตั้งเหลือเพียง 85,000-90,000 บาท การลดต้นทุนนี้จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงโซลาร์เซลล์ได้มากขึ้น ลดภาระค่าไฟช่วงกลางวัน และสำหรับผู้ที่มีทุน สามารถใช้ระบบไฮบริดพร้อมแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟไว้ใช้กลางคืนได้

“ตอนนี้ผมก็กำลังบริหารจัดการให้ค่าไฟงวดหน้าไม่เกิน 3.99 บาท แต่จะพยายามให้ลงมาต่ำกว่า 3.98 บาท ถ้าเราไม่มีเอกชน ทางภาครัฐสามารถผลิตไฟได้ถูกกว่านี้ เพราะว่าไม่ต้องมีกำไรอีกต่อหนึ่ง ถ้าภาครัฐผลิตจะสามารถควบคุมต้นทุนได้มากขึ้น และเราสามารถกำหนดทิศทางส่วนต่างกำไรให้อยู่ในกรอบที่สามารถทำให้ราคาค่าไฟถูกลงได้มากกว่านี้เยอะ”

ข่าวยอดนิยม

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]

รายงานชี้ ปี 2025 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในไทยจะถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหินอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยเพียง 33-75 ดอลลาร์สหรัฐ/MWh
เสวนา “คนอุบลเอาบ่? : น้ำท่วม เขื่อนใหม่ ค่าไฟแพง” เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 68 เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers : Against Dams)

รัฐสภายุโรปอนุมัติกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถบรรทุกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในสาระสำคัญของกฎหมายนี้ รถบรรทุกที่ขายในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 90% กฎหมายนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตรถบรรทุกหรือยานยนต์สำหรับงานหนัก ต้องให้ความสำคัญกับการผลิตรถที่ลดการปล่อยมลพิษมากขึ้น ซึ่งรวมถึงรถไฟฟ้าและรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน เพื่อลดสัดส่วนการจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในตลาดลงให้ได้ถึง 90% ในปี 2040 โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้รถไฟฟ้าให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ระหว่างทางก่อนจะถึงเป้าหมายนั้น ผู้ผลิตรถบรรทุกยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2030 แทน 30% ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิม ทั้งยังต้องบรรลุเป้าหมายที่จะลดให้ได้ 65% ภายในปี 2035 อีกด้วย ในการลงมติเพื่ออนุมัติกฎหมายนี้ มีเพียงอิตาลี โปแลนด์ และสโลวาเกียเท่านั้นที่ลงคะแนนเสียงคัดค้าน ในขณะที่สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศเดียวที่งดออกเสียง โดยประเทศที่ได้รับการจับตามองในการลงมติครั้งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่ง คือ เยอรมนี เพราะนอกจากจะเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้แล้ว ก่อนหน้านี้เยอรมนีเป็นประเทศที่พยายามเจรจาเพื่อให้ใช้เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งผลิตจากกระแสไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ได้ นอกจากความพยายามที่จะเจรจาเรื่องเชื้อเพลิงสังเคราะห์แล้ว ยังมีเรื่องท่าทีของรัฐบาลเยอรมนีที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลผสมของเยอรมนี ดังนั้น เพื่อให้เยอรมนีลงมติเห็นชอบในกฎหมายนี้ ทางสหภาพยุโรปได้เพิ่มบทนำที่ระบุว่า สหภาพยุโรปจะพิจารณาการบรรจุข้อกำหนดเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อนับรวมรถที่ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอนในกรณีที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป ณ เดือนธันวาคม 2023 ระบุว่า การขนส่งสินค้าทางถนนถือเป็นหัวใจสำคัญของการค้าและการพาณิชย์ของทวีปยุโรป […]

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงานวิจัย Thailand: Turning Point for a Net-Zero Power Grid โดย BloombergNEF

BloombergNEF (BNEF) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยเชิงกลยุทธ์ชั้นนำที่ครอบคลุมทั้งประเด็นเรื่องพลังงานสะอาด การขนส่งขั้นสูง อุตสาหกรรมดิจิทัล ผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม ภายใต้บริษัท Bloomberg

รายงานจาก BloombergNEF ชี้ “ต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่”

รายงานชี้ ปี 2025 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในไทยจะถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหินอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยเพียง 33-75 ดอลลาร์สหรัฐ/MWh

[ชุดข้อมูล] 17 ปี การปรับค่าไฟฟ้ากับหนี้ กฟผ.

ข้อมูลประกอบด้วยประมาณการค่า Ft สำหรับใช้เรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - พฤษภาคม 2568 จากสูตรการคำนวณของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่า Ft ที่ใช้เรียกเก็บจริงตามเอกสารเผยแพร่ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), หนี้ กฟผ. จากการรับภาระส่วนต่างของค่า Ft