Search

การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินจริง และการสร้างโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น

การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินจริงตลอด 20 ปีที่ผ่านมาในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan: PDP) ส่งผลให้รัฐอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าของทั้งรัฐและเอกชนมากเกินความจำเป็น ขณะที่โรงไฟฟ้าที่มีอยู่และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้วก็ไม่ได้เดินเครื่องอย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากการใช้ไฟจริงน้อยกว่ากำลังการผลิตที่มีในระบบมาก 

แต่ในขณะเดียวกัน ทุกๆ ปี รัฐก็ยังเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มมาโดยตลอด จากข้อมูลจะเห็นว่า ปี 2559 มีกำลังการผลิตอยู่ 41,556 เมกะวัตต์ แต่ในขณะเดียวกันมีกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเพียง 21,486 เมกะวัตต์ เท่ากับว่า ยังมีโรงไฟฟ้าผลิตเพิ่มได้อีก 20,070 เมกะวัตต์ แต่รัฐยังเดินหน้าเซ็นสัญญากับโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 24 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตรวมอีก 6,299 เมกะวัตต์

เงินที่ต้องจ่ายไปกับการทำสัญญาซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีกำลังในระบบเกินพอ ก็กลับมาอยู่ในบิลค่าไฟของเราทุกคน

นอกจากนี้ อีกประเด็นสำคัญคือ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าถูกจัดให้เป็น ‘ความลับ’ ของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน แม้สัญญาจะผูกพันและสร้างภาระให้กับประชาชนระยะยาว 15-35 ปีก็ตาม ประชาชนจะทราบข่าวก็ต่อเมื่อมีการลงนามซื้อขายในสัญญาไปแล้ว แม้จะมีการเรียกร้องให้รัฐเปิดเผยรายละเอียดสัญญา แต่ก็ถูกปฏิเสธ ทำให้เราในฐานะผู้บริโภคยิ่งห่างไกลจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าไฟของเราเอง

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ชาวเหนือเรียกร้องปิดตำนาน ‘แม่เมาะ’ ไม่ควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว

ประชาชนควรมีส่วนร่วมในแผน PDP จากระดับพื้นที่ ย้ำคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย

CFNT เปิดผลวิจัยประเมินมูลค่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลในอนาคต และเสวนาแผน PDP 2024

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)