การใช้ไฟฟ้าพีค 34,443.1 MW ไม่ว่าจะพีคแค่ไหนแต่สำรองไฟก็ยังล้นเกิน

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน 

จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ

แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด

ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว 

หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง หน้าร้อน อากาศร้อน การใช้ไฟยิ่งเพิ่มมากขึ้น 

ที่จริง การสำรองไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ต้องทำ และมีมาตรฐานของมันอยู่เพื่อให้มีความมั่นคงทางพลังงาน จากกราฟเส่้นสีฟ้าจะเห็นว่าในวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ตัวเลขการใช้ไฟสูงสุดของปี หรือพีคนี่แหละ จะเป็นตัวบอกว่าเราควรจะสำรองไฟไว้แค่ไหน ตามมาตรฐานแล้ว เราควรจะสำรองไฟเพิ่มจากตัวเลขพีคที่ประมาณ 15% ซึ่งก็คือเส้นกราฟสีส้ม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผ่ารการคำนวณมาแล้วว่า 15% นี่แหละ พอ เราใช้ไฟไม่เกินนี้แน่นอน

แต่ประเทศไทย ไม่ได้สำรองไว้แค่ 15% น่ะสิ เราสำรองไฟด้วยการเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าเพิ่มตลอดในแบบล้นแล้วล้นอีก ล้นเกินจาก 15% ไปมากๆ ถ้าดูจากกราฟว่าล้นแค่ไหนก็ให้ดูเส้นกราฟสีเทา นั่นคือ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบที่ประเทศไทยมี หรือพูดง่ายๆ ว่ามีโรงไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้และซื้อไฟจากต่างประเทศรวมๆ กันแล้วอยู่ที่เส้นสีเทานั่นเอง ซึ่งมันเกินจากเส้นสีส้มไปมากกก และการที่มันล้นเกินไปมากนั้น แม้ว่าเราจะใช้ไฟไม่ถึงเท่าที่ผลิตได้ (พื้นที่สีแดง) แต่ทั้งหมดนั้นก็มีค่าใช้จ่าย ที่ถูกผลักมาให้เราจ่ายในบิลค่าไฟของเราทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ค่าซื้อก๊าซมาผลิตไฟฟ้า ค่าการดำเนินการของโรงไฟฟ้า (แม้ว่าจะเดินเครื่องไม่เต็มเพราะเราใช้ไฟไม่ถึงก็ตาม) ฯลฯ ค่าทั้งหลายเหล่านี้อยู่ในบิลค่าไฟของเราทั้งนั้น 

พีคกว่าปริมาณการใช้ไฟสูงสุดก็คือการสำรองไฟที่ล้นเกินที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายจุกๆ โดยไม่จำเป็นนี่แหละ 

และที่พีคกว่านั้น ก็คือ แม้ว่าเราจะปริมาณโรงไฟฟ้าที่ล้นเกินที่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังเพราะเราใช้ไฟไม่ถึง แต่ต้องจ่ายในราคาเต็มตามสัญญา ในอนาคตเรายังมีโรงไฟฟ้าที่รอเข้าระบบอีกหลายโรงจากแผน PDP2018 (ปรับปรุงครั้งที่1) และยังไม่รู้ว่าแผน PDP2024 ที่กำลังจะออกมาในปีนี้จะมีโรงไฟฟ้าเพิ่มอีกกี่โรง 

.

รู้แหละว่าอากาศร้อน ต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ แต่ก็อยากให้รู้ไว้ด้วยว่าค่าไฟที่แพงฉ่ำๆ ตามมานั้น ไม่ได้มาจากแค่การใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นของเราเท่านั้น แต่ยังมาจากการที่รัฐยังเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าไม่หยุดไม่หย่อนแม้กำลังการผลิตที่มีจะล้นเกินนนนนจนเวอร์ ในแบบที่ไม่ต้องกลัวไฟไม่พอ แต่ก็ยังเซ็นเพิ่มอีกด้วย 

ข่าวยอดนิยม

หยุดเซ็นโรงใหม่ ชะลอโรงที่เซ็นไปแล้ว หนุนโซลาร์เซลล์
โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)

รัฐสภายุโรปอนุมัติกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถบรรทุกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในสาระสำคัญของกฎหมายนี้ รถบรรทุกที่ขายในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 90% กฎหมายนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตรถบรรทุกหรือยานยนต์สำหรับงานหนัก ต้องให้ความสำคัญกับการผลิตรถที่ลดการปล่อยมลพิษมากขึ้น ซึ่งรวมถึงรถไฟฟ้าและรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน เพื่อลดสัดส่วนการจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในตลาดลงให้ได้ถึง 90% ในปี 2040 โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้รถไฟฟ้าให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ระหว่างทางก่อนจะถึงเป้าหมายนั้น ผู้ผลิตรถบรรทุกยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2030 แทน 30% ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิม ทั้งยังต้องบรรลุเป้าหมายที่จะลดให้ได้ 65% ภายในปี 2035 อีกด้วย ในการลงมติเพื่ออนุมัติกฎหมายนี้ มีเพียงอิตาลี โปแลนด์ และสโลวาเกียเท่านั้นที่ลงคะแนนเสียงคัดค้าน ในขณะที่สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศเดียวที่งดออกเสียง โดยประเทศที่ได้รับการจับตามองในการลงมติครั้งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่ง คือ เยอรมนี เพราะนอกจากจะเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้แล้ว ก่อนหน้านี้เยอรมนีเป็นประเทศที่พยายามเจรจาเพื่อให้ใช้เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งผลิตจากกระแสไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ได้ นอกจากความพยายามที่จะเจรจาเรื่องเชื้อเพลิงสังเคราะห์แล้ว ยังมีเรื่องท่าทีของรัฐบาลเยอรมนีที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลผสมของเยอรมนี ดังนั้น เพื่อให้เยอรมนีลงมติเห็นชอบในกฎหมายนี้ ทางสหภาพยุโรปได้เพิ่มบทนำที่ระบุว่า สหภาพยุโรปจะพิจารณาการบรรจุข้อกำหนดเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อนับรวมรถที่ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอนในกรณีที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป ณ เดือนธันวาคม 2023 ระบุว่า การขนส่งสินค้าทางถนนถือเป็นหัวใจสำคัญของการค้าและการพาณิชย์ของทวีปยุโรป […]

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net Zero จะรักสิ่งแวดล้อมยังไง

ภาคประชาชนจัดเวทีเสวนาคู่ขนานวัน Earth Hour เปิดโครงสร้างปัญหาค่าไฟไม่แฟร์ และชวนปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

พีระพันธุ์เรียกร้องเปิดสัญญาซื้อไฟจากเอกชน และปรับสัญญาเพื่อลดภาระค่าไฟของประชาชน

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นแขกรับเชิญในรายการ ‘Behind the Bill – ผลประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า’ ผ่านการไลฟ์สดโดยเฟซบุ๊กเพจ ‘โอกาส Chance’ เมื่อวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยเปิดรายละเอียดโครงสร้างการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ทำให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุน และแนวทางในการทำให้ค่าไฟของคนไทยถูกลง  โดยในช่วงแรกเป็นการให้ภาพและข้อมูลพื้นฐานในการปรับค่าไฟ พร้อมชี้ให้เห็นว่าแม้ค่าไฟจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าค่าไฟแพง เนื่องจากต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ “หากดูจากตัวเลขอย่างเดียว ค่าไฟของเราที่ 4.15 บาทในช่วงต้นปี 2567 อาจดูไม่แพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น เวียดนาม (3.16 บาท), ฟิลิปปินส์ (5.3 บาท), อินโดนีเซีย (3.16 บาท), มาเลเซีย (1.87 บาทเพราะรัฐบาลช่วยออกเหมือนค่าน้ำมัน), สิงคโปร์ (7.22 บาท), เกาหลีใต้ (4.48 บาท), และสหรัฐอเมริกา (6.12 บาท) แต่ความเป็นจริงถ้าเทียบกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแล้ว ค่าไฟของเราถือว่าแพง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดว่า […]

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net

รายงานจาก BloombergNEF ชี้ “ต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่”

รายงานชี้ ปี 2025 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในไทยจะถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหินอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยเพียง 33-75 ดอลลาร์สหรัฐ/MWh

[ชุดข้อมูล] 17 ปี การปรับค่าไฟฟ้ากับหนี้ กฟผ.

ข้อมูลประกอบด้วยประมาณการค่า Ft สำหรับใช้เรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 - พฤษภาคม 2568 จากสูตรการคำนวณของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่า Ft ที่ใช้เรียกเก็บจริงตามเอกสารเผยแพร่ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), หนี้ กฟผ. จากการรับภาระส่วนต่างของค่า Ft