Search

ตรวจการบ้านนโยบายหาเสียงด้านพลังงานของรัฐบาลเศรษฐา

วันนี้ 14 พ.ค. 67 ครบรอบ 1 ปีการเลือกตั้งทั่วไป JustPow ชวนตรวจการบ้านว่า นโยบายด้านพลังงานที่พรรคร่วมรัฐบาลหาเสียงไว้ ตอนนี้มีความคืบหน้าอย่างไรแล้วบ้าง 

ข่าวยอดนิยม

ภาคประชาชนจัดเวทีเสวนาคู่ขนานวัน Earth Hour เปิดโครงสร้างปัญหาค่าไฟไม่แฟร์ และชวนปิดสวิตช์ตัวการทำค่าไฟแพง

รัฐสภายุโรปอนุมัติกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถบรรทุกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในสาระสำคัญของกฎหมายนี้ รถบรรทุกที่ขายในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 90% กฎหมายนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตรถบรรทุกหรือยานยนต์สำหรับงานหนัก ต้องให้ความสำคัญกับการผลิตรถที่ลดการปล่อยมลพิษมากขึ้น ซึ่งรวมถึงรถไฟฟ้าและรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน เพื่อลดสัดส่วนการจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในตลาดลงให้ได้ถึง 90% ในปี 2040 โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้รถไฟฟ้าให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ระหว่างทางก่อนจะถึงเป้าหมายนั้น ผู้ผลิตรถบรรทุกยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2030 แทน 30% ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิม ทั้งยังต้องบรรลุเป้าหมายที่จะลดให้ได้ 65% ภายในปี 2035 อีกด้วย ในการลงมติเพื่ออนุมัติกฎหมายนี้ มีเพียงอิตาลี โปแลนด์ และสโลวาเกียเท่านั้นที่ลงคะแนนเสียงคัดค้าน ในขณะที่สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศเดียวที่งดออกเสียง โดยประเทศที่ได้รับการจับตามองในการลงมติครั้งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่ง คือ เยอรมนี เพราะนอกจากจะเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้แล้ว ก่อนหน้านี้เยอรมนีเป็นประเทศที่พยายามเจรจาเพื่อให้ใช้เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งผลิตจากกระแสไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ได้ นอกจากความพยายามที่จะเจรจาเรื่องเชื้อเพลิงสังเคราะห์แล้ว ยังมีเรื่องท่าทีของรัฐบาลเยอรมนีที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลผสมของเยอรมนี ดังนั้น เพื่อให้เยอรมนีลงมติเห็นชอบในกฎหมายนี้ ทางสหภาพยุโรปได้เพิ่มบทนำที่ระบุว่า สหภาพยุโรปจะพิจารณาการบรรจุข้อกำหนดเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อนับรวมรถที่ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอนในกรณีที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป ณ เดือนธันวาคม 2023 ระบุว่า การขนส่งสินค้าทางถนนถือเป็นหัวใจสำคัญของการค้าและการพาณิชย์ของทวีปยุโรป […]

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)
เสวนา “คนอุบลเอาบ่? : น้ำท่วม เขื่อนใหม่ ค่าไฟแพง” เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 68 เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers : Against Dams)
ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

ลดค่าไฟ อย่าตัดแค่ค่า Adder/FiT : JustPow เสนอถ้าตัดค่าความพร้อมจ่ายด้วย ค่าไฟจะเหลือ 3.64 บาท/หน่วย

ในช่วงต้นปี 2568 รัฐบาลเดินหน้าลดภาระค่าครองชีพของประชาชนผ่านมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับค่าไฟฟ้าเรียกเก็บสำหรับรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2568 อยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย ลดลงจากงวดก่อนหน้า 3 สตางค์/หน่วย โดยยืดการจ่ายหนี้ค่าไฟฟ้าและค่าก๊าซฯ ของ กฟผ. และ ปตท. ที่สะสมอยู่จำนวน 85,226 ล้านบาท ออกไปก่อน ความพยายามที่จะลดค่าไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยเน้นย้ำที่จะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะผู้ช่วยหาเสียของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568  ประกาศถึงความตั้งใจที่จะลดค่าไฟฟ้าให้อยู่ที่ 3.70 บาท/หน่วยให้ได้  เพื่อตอบรับนโยบายลดค่าไฟฟ้านี้ ในวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน […]

เสียงจากเวทีที่อุบลฯ ไม่เอาเขื่อน(เพิ่ม)ได้ไหม

เสวนา “คนอุบลเอาบ่? : น้ำท่วม เขื่อนใหม่ ค่าไฟแพง” เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 68 เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers : Against Dams)

น้ำท่วม เขื่อนลาว นักลงทุนไทย ค่าไฟแพง : สำรวจเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาวที่ขายไฟให้กับไทย

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคอีสานตอนเหนือในช่วงเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแถบจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงจากทั้งพายุ ฝนตกหนักและการที่เขื่อนในแม่น้ำโขงปล่อยน้ำ ทำให้แม่น้ำสาขาในแต่ละจังหวัดไม่สามารถระบายน้ำลงแม่น้ำโขง จนเกิดการเอ่อล้นและท่วมในหลายพื้นที่