Search

บทความ

ค่าไฟลด แต่หนี้เพิ่ม: การลดค่าไฟที่ไม่ได้ปรับโครงสร้างพลังงานแต่ให้ กฟผ. แบกหนี้ต่อ 

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภาวะ ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเคยได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 4.72 บาท/หน่วย อันนำมาซึ่งภาระ ‘หนี้ กฟผ.’ ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท แม้ว่าในปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจะลดลงจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง และในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ ก็ยังคงมีการดำเนินแนวทางให้ กฟผ. รับภาระหนี้อย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติกำหนดเป้าหมายค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วยไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2568 กกพ. จึงมีมติปรับลดค่าไฟฟ้ารอบเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2568 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เพื่อสนองนโยบายรัฐ โดยเป็นการนำเงินเรียกคืนจากผลประโยชน์ส่วนเกิน (Claw Back) ประมาณ […]

ลดค่าไฟ อย่าตัดแค่ค่า Adder/FiT : JustPow เสนอถ้าตัดค่าความพร้อมจ่ายด้วย ค่าไฟจะเหลือ 3.64 บาท/หน่วย

ในช่วงต้นปี 2568 รัฐบาลเดินหน้าลดภาระค่าครองชีพของประชาชนผ่านมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับค่าไฟฟ้าเรียกเก็บสำหรับรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2568 อยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย ลดลงจากงวดก่อนหน้า 3 สตางค์/หน่วย โดยยืดการจ่ายหนี้ค่าไฟฟ้าและค่าก๊าซฯ ของ กฟผ. และ ปตท. ที่สะสมอยู่จำนวน 85,226 ล้านบาท ออกไปก่อน ความพยายามที่จะลดค่าไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยเน้นย้ำที่จะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะผู้ช่วยหาเสียของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568  ประกาศถึงความตั้งใจที่จะลดค่าไฟฟ้าให้อยู่ที่ 3.70 บาท/หน่วยให้ได้  เพื่อตอบรับนโยบายลดค่าไฟฟ้านี้ ในวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน […]

น้ำท่วม เขื่อนลาว นักลงทุนไทย ค่าไฟแพง : สำรวจเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาวที่ขายไฟให้กับไทย

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคอีสานตอนเหนือในช่วงเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแถบจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงจากทั้งพายุ ฝนตกหนักและการที่เขื่อนในแม่น้ำโขงปล่อยน้ำ ทำให้แม่น้ำสาขาในแต่ละจังหวัดไม่สามารถระบายน้ำลงแม่น้ำโขง จนเกิดการเอ่อล้นและท่วมในหลายพื้นที่

เมื่อความมั่นคงทางพลังงานเป็นมากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม

สำรวจและทำความเข้าใจความหมายเบื้องต้นของความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงประเทศไทยมีจุดยืนเป็นอย่างไรในเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน

ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 

สำรวจความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมดูว่ากลุ่มบริษัทไหนได้โควต้าบ้าง

การเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยอยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก?

พีรยา พูลหิรัญ และธัญญาภรณ์ สุรภักดีโครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย (JET in Thailand) ‘การรับมือกับวิกฤติโลกเดือด’

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำกับความหมกเม็ดของ ‘พลังงานสะอาด’ ในร่างแผน PDP2024

ทำไม 'โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากลาว' ในร่าง PDP2024 ถึงไม่จำเป็น

แผนพลังงานชาติ (NEP) ที่เพิ่งจะมี กับแผน PDP ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม

แผนพลังงานชาติ (NEP) คืออะไร  ทำไมเพิ่งจะมี ?   แผนพลังงานชาติ (National Energy

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) คืออะไร 

พีดีพีคืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับบิลค่าไฟของเรา