ส่วนแบ่งการตลาดของโรงไฟฟ้าเอกชนในการผลิตไฟฟ้า

แหล่งที่มาไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดคือ การซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน ซึ่งเดือนธันวาคม 2566 มีกำลังการผลิตของเอกชนคิดเป็น 67.27% โดยการรับซื้อจากโรงไฟฟ้าอิสระขนาดใหญ่ (IPP) โรงไฟฟ้าอิสระขนาดเล็ก (SPP) และจาก สปป.ลาว

เมื่อคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นในชั้นแรก โดยไม่ได้พิจารณาการถือหุ้นโดยอ้อมของบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการนั้น จะพบว่ามี 7 บริษัทที่มีสัดส่วนเกิน 50% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เอกชนเป็นผู้ผลิต

โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ พบว่าบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH) มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดคิดเป็น 22.13% รองลงมาคือ กลุ่มบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) 21.86% กลุ่มบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) 7.34% กลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) 9.04% กลุ่มบริษัทบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) 5% กลุ่มบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (CKP) 0.53% และบริษัทอื่นๆ รวม 34.01%

ขณะที่พลังงานที่มาจากถ่านหิน พบว่า บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU) มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดคิดเป็น 32.81% รองลงมาก็คือ EGCO 17.5% ตามด้วย GPSC 15.83% และ RATCH 15.31%  และบริษัทอื่นๆ รวม 18.55%

เมื่อสำรวจข้อมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น ชีวมวล แสงอาทิตย์ และลม ยังพบว่าทั้ง 7 บริษัทนี้ก็กระจายตัวอยู่ด้วยเช่นกัน  เช่น ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานน้ำ พบว่าบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (CKP) มีสัดส่วนการผลิตคิดเป็น 11.83% ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานลม มี RATCH มีสัดส่วนการผลิต 6.76% และ EGCO 5.63%  โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มี EGCO สัดส่วนการผลิต 8.41% โรงไฟฟ้าชีวมวล มี GULF 4.22%

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

พีระพันธุ์เรียกร้องเปิดสัญญาซื้อไฟจากเอกชน และปรับสัญญาเพื่อลดภาระค่าไฟของประชาชน

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นแขกรับเชิญในรายการ ‘Behind the Bill – ผลประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า’ ผ่านการไลฟ์สดโดยเฟซบุ๊กเพจ ‘โอกาส Chance’ เมื่อวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยเปิดรายละเอียดโครงสร้างการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ทำให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุน และแนวทางในการทำให้ค่าไฟของคนไทยถูกลง  โดยในช่วงแรกเป็นการให้ภาพและข้อมูลพื้นฐานในการปรับค่าไฟ พร้อมชี้ให้เห็นว่าแม้ค่าไฟจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าค่าไฟแพง เนื่องจากต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ “หากดูจากตัวเลขอย่างเดียว ค่าไฟของเราที่ 4.15 บาทในช่วงต้นปี 2567 อาจดูไม่แพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น เวียดนาม (3.16 บาท), ฟิลิปปินส์ (5.3 บาท), อินโดนีเซีย (3.16 บาท), มาเลเซีย (1.87 บาทเพราะรัฐบาลช่วยออกเหมือนค่าน้ำมัน), สิงคโปร์ (7.22 บาท), เกาหลีใต้ (4.48 บาท), และสหรัฐอเมริกา (6.12 บาท) แต่ความเป็นจริงถ้าเทียบกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแล้ว ค่าไฟของเราถือว่าแพง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดว่า […]

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงานวิจัย Thailand: Turning Point for a Net-Zero Power Grid โดย BloombergNEF

BloombergNEF (BNEF) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยเชิงกลยุทธ์ชั้นนำที่ครอบคลุมทั้งประเด็นเรื่องพลังงานสะอาด การขนส่งขั้นสูง อุตสาหกรรมดิจิทัล ผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม ภายใต้บริษัท Bloomberg

รายงานจาก BloombergNEF ชี้ “ต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่”

รายงานชี้ ปี 2025 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในไทยจะถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหินอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยเพียง 33-75 ดอลลาร์สหรัฐ/MWh