Search

ไฟฟ้า

ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 

สำรวจความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมดูว่ากลุ่มบริษัทไหนได้โควต้าบ้าง

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งนับเป็นแผนที่ใช้มายาวนานที่สุด

แผนพลังงานชาติ (NEP) ที่เพิ่งจะมี กับแผน PDP ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม

แผนพลังงานชาติ (NEP) คืออะไร  ทำไมเพิ่งจะมี ?   แผนพลังงานชาติ (National Energy

จับตาแผน PDP ฉบับใหม่ ต้องเป็นยังไงค่าไฟถึงจะถูกลง

นักวิชาการภาคประชาชน จัดวงเสวนา “จับตาแผน PDP ใหม่ ราคาอะไรที่ประชาชนต้องจ่าย?” จาก “รายการฟังเสียงประเทศไทย” ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2024

การใช้ไฟฟ้าพีค 34,443.1 MW ไม่ว่าจะพีคแค่ไหนแต่สำรองไฟก็ยังล้นเกิน

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่าทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมลงนรกได้ขนาดนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือบิลค่าไฟที่ทะลุเดือดไม่ต่างกับอากาศ เพราะต้องเปิดแอร์ฉ่ำๆ เพื่อดับร้อน  จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) อยู่ที่ 34,443.1 เมกะวัตต์ ถือเป็นการทำลายสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. ซึ่งเคยทำไว้ที่ 34,130.5 เมกะวัตต์ และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ก็จะมีพีคอีกรอบ แม้ว่าจะเกิดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในระบบการไฟฟ้า เพราะตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ เพราะมีการสำรองไฟฟ้าไว้สูงจนถึงขั้นล้นเกิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบ อยู่ที่ 49,571.79 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองที่สูงถึง 43.92% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ฟังดูประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานดีสุดๆ ใช้ไฟพีคแค่ไหน ก็ยังมีไฟล้นเหลือสำรองไว้ ไม่ต้องกลัวว่าเปิดแอร์มากแค่ไหน ไฟในประเทศจะไม่พอ แต่รู้ไหมว่า ที่สำรองไว้จนล้นเกินน่ะ ใช่ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมันบวกอยู่ในบิลค่าไฟเราแล้ว  หลายคนคงคิดว่า อ้าว…แล้วจะไม่สำรองไฟเลยเหรอ ถ้าไม่พอขึ้นมา ไฟดับจะทำยังไง […]

ส่วนแบ่งการตลาดของโรงไฟฟ้าเอกชนในการผลิตไฟฟ้า

ไม่ว่าโรงไฟฟ้าใหญ่หรือเล็กก็พบทั้ง 7 บริษัทนี้กระจายตัวอยู่

ค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า ที่ปตท.เรียกเก็บจากโรงไฟฟ้าเอกชนไม่เท่ากัน

โรงไฟฟ้าเอกชนที่ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP)

ส่วนต่างที่ต้องจ่ายในการซื้อก๊าซ ที่ราคา Pool gas

การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ราคาจากระบบ Pool Gas ที่ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เมียนมา และก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่ต้องนำเข้า โดยประเทศไทยเริ่มนำเข้าก๊าซ LNG มาตั้งแต่ปี 2554

สัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 2529-2566

เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับต้นทุนค่าไฟฟ้า หากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เราใช้มากถึง 40-72% มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซฟอสซิล ก๊าซฟอสซิล รวมถึงก๊าซเหลวแอลเอ็นจี (LNG) ที่ประเทศไทยใช้จัดเป็นหนึ่งในพลังงานฟอสซิล ในภาวะโลกร้อนและภาวะโลกรวน และการที่ไทยมีเป้าหมายว่าปี 2608 (2065) จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ แต่โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 62% ของก๊าซคาร์บอนฯ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ประเทศไทยจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร ในเมื่อการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพิงฟอสซิลเป็นหลัก เช่น ในปี 2566 ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากการใช้พลังงานฟอสซิล 71.9% ประกอบด้วยก๊าซฟอสซิล 58% ถ่านหิน 13.5% และดีเซล 0.4% โดยที่ยังไม่นับรวมไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศลาวที่มีสัดส่วน 14.7% (ในจำนวนนี้ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินและเขื่อน) ขณะที่มีการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ 3% และพลังงานหมุนเวียน 10.4% ที่ผ่านมา เรามีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่ตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานของประเทศ โดยมีการทำแผนตั้งแต่ปี 2554 ผลปรากฏว่าในปี 2566 ประเทศไทยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 10.4% เท่านั้น

กำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ

‘ค่าไฟฟ้าฐาน’ ในบิลค่าไฟ มีส่วนประกอบของ ‘ค่าการผลิต’ ที่คำนวณจากสมมติฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึง ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย  การที่รัฐวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นทุนค่าการผลิตสูงขึ้น ทำให้เราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยไม่จำเป็นผ่านบิลค่าไฟ และการมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ค่าไฟขึ้นในทันที แต่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลที่จะเรียกเก็บเลย หรือค่อยทยอยเรียกเก็บทีหลัง เรียกได้ว่าไม่จ่ายวันนี้ ก็ต้องจ่ายในอนาคตอยู่ดี เพราะถูกล็อกไว้ด้วยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นมากแค่ไหน ซึ่งทำให้เราต้องแบกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปกติแล้ว การสำรองไฟฟ้าจะคำนวณจากค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปี แล้วสำรองเกินไว้อีก 15% เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ แต่จากกราฟจะเห็นว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบ สูงกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และสูงกว่ากำลังการผลิตที่ควรมีในระบบ ไปค่อนข้างมาก ซึ่งสิ่งนี้เองที่ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟของเราแพงเกินความจำเป็น เพราะการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้น ต่ำกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบอย่างมาก เท่ากับว่าโรงไฟฟ้าหลายๆ โรงที่เรามี ก็ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เพราะเราใช้ไฟไม่ถึง แต่เนื่องจากเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของรัฐกับผู้ผลิตเอกชน กำหนดให้รัฐต้องจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าอยู่ดี ไม่ว่าจะเดินเครื่องหรือไม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า ‘ค่าความพร้อมจ่าย’ และค่าใช้จ่ายนั้นก็ถูกผลักภาระมาไว้ในบิลค่าไฟของเราทุกคน