Search

พลังงานฟอสซิล

สัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 2529-2566

เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับต้นทุนค่าไฟฟ้า หากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เราใช้มากถึง 40-72% มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซฟอสซิล ก๊าซฟอสซิล รวมถึงก๊าซเหลวแอลเอ็นจี (LNG) ที่ประเทศไทยใช้จัดเป็นหนึ่งในพลังงานฟอสซิล ในภาวะโลกร้อนและภาวะโลกรวน และการที่ไทยมีเป้าหมายว่าปี 2608 (2065) จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ แต่โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 62% ของก๊าซคาร์บอนฯ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ประเทศไทยจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร ในเมื่อการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพิงฟอสซิลเป็นหลัก เช่น ในปี 2566 ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากการใช้พลังงานฟอสซิล 71.9% ประกอบด้วยก๊าซฟอสซิล 58% ถ่านหิน 13.5% และดีเซล 0.4% โดยที่ยังไม่นับรวมไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศลาวที่มีสัดส่วน 14.7% (ในจำนวนนี้ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินและเขื่อน) ขณะที่มีการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ 3% และพลังงานหมุนเวียน 10.4% ที่ผ่านมา เรามีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่ตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานของประเทศ โดยมีการทำแผนตั้งแต่ปี 2554 ผลปรากฏว่าในปี 2566 ประเทศไทยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 10.4% เท่านั้น

[ชุดข้อมูล] สัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ประเทศไทย 2529-2566

ข้อมูลประกอบด้วยสัดส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในระบบของกฟผ. ระหว่างปี 2529-2566