Search

สัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 2529-2566

เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับต้นทุนค่าไฟฟ้า หากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เราใช้มากถึง 40-72% มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซฟอสซิล

ก๊าซฟอสซิล รวมถึงก๊าซเหลวแอลเอ็นจี (LNG) ที่ประเทศไทยใช้จัดเป็นหนึ่งในพลังงานฟอสซิล ในภาวะโลกร้อนและภาวะโลกรวน และการที่ไทยมีเป้าหมายว่าปี 2608 (2065) จะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ แต่โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 62% ของก๊าซคาร์บอนฯ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

แต่ประเทศไทยจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร ในเมื่อการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพิงฟอสซิลเป็นหลัก เช่น ในปี 2566 ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากการใช้พลังงานฟอสซิล 71.9% ประกอบด้วยก๊าซฟอสซิล 58% ถ่านหิน 13.5% และดีเซล 0.4% โดยที่ยังไม่นับรวมไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศลาวที่มีสัดส่วน 14.7% (ในจำนวนนี้ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินและเขื่อน) ขณะที่มีการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ 3% และพลังงานหมุนเวียน 10.4%

ที่ผ่านมา เรามีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่ตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานของประเทศ โดยมีการทำแผนตั้งแต่ปี 2554 ผลปรากฏว่าในปี 2566 ประเทศไทยใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 10.4% เท่านั้น

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

CFNT เปิดผลวิจัยประเมินมูลค่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลในอนาคต และเสวนาแผน PDP 2024

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วนจะต้องปิดตัวลงก่อนสิ้นอายุทางเศรษฐกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด จนกลายเป็นสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets)

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี

คู่มือฉบับย่อ โครงสร้างพลังงานไทย ทำไม #ค่าไฟแพง

ชวนทำความเข้าใจโครงสร้างค่าไฟผ่านข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงาน โรงไฟฟ้าทั้งหมดในไทยมีกี่โรง ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วไฟฟ้าของไทยมาจากเชื้อเพลิงชนิดใด เป็นสัดส่วนเท่าไร เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไหนผลิตไฟฟ้า รวมถึงชวนดูการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในแผน PDP ที่ส่งผลต่อค่าไฟของเรา ชวนดูข้อมูลว่าเราจะไปสู่โซลาร์ภาคประชาชนได้หรือไม่ และเราจะไปถึง Net Zero ทันเวลาไหม