Search

ค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า ที่ปตท.เรียกเก็บจากโรงไฟฟ้าเอกชนไม่เท่ากัน

โรงไฟฟ้าเอกชนที่ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer: SPP) และไฟฟ้าจาก สปป.ลาว

โรงไฟฟ้าเหล่านี้ใช้ก๊าซธรรมชาติที่ซื้อมาจาก ปตท. แต่ ปตท. เรียกเก็บค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า (margin) ไม่เท่ากัน 

โดยในปี 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดให้โรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้า IPP ต้องจ่ายให้ ปตท. 1.75% แต่โรงไฟฟ้า SPP ต้องจ่ายค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้าสูงถึง 9.33% ภาระของการจ่ายค่าดำเนินการในอัตราที่แพงกว่าของโรงไฟฟ้า SPP จึงถูกส่งผ่านไปยังผู้ใช้ไฟในที่สุด

โดยในรายงานการศึกษาของอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อปี 2545 ได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า หากสามารถลดค่าดำเนินการของ SPP ลงได้ จะทำให้ค่า Ft ลดลงได้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น จากกราฟจะเห็นว่า หากมีการลดค่าดำเนินการที่ ปตท. คิดกับ SPP ให้เท่ากับค่าดำเนินการ ที่ ปตท. คิดกับ กฟผ. และ IPP จะลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าไปได้ถึงปีละกว่า 2,000 ล้านบาท หรือใน 15 ปีที่ผ่านมา เราจ่ายส่วนต่างค่าดำเนินการไปแล้วกว่า 33,000 ล้านบาท

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ข้อสังเกตจาก JustPow ต่อคำชี้แจงของ สนพ. กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

จากการที่ภาครัฐมีการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก  5,200 เมกะวัตต์ เพิ่มอีก 3 สัญญา ในวันที่

รมว.พลังงานแจง ไม่มีอำนาจชะลอเซ็นสัญญาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ” ศศิกานต์​ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำชี้แจงของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นเรื่องโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ณ วันที่ 20 เมษายน 2568 จากกรณีโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามในวันที่ 19 เมษายน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น โดยก่อนหน้านี้ มีโครงการที่ กฟผ. เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ และมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา มีการลงนามเพิ่มอีก 3 สัญญา โดยยังเหลือที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 16 สัญญา โดยกล่าวว่าที่ต้องลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้านั้นมาจากการที่มีเงื่อนไขกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย […]

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรัฐบาลเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก

การเซ็นสัญญาซื้อไฟจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จะตามมาด้วยการที่ภาครัฐจะต้องจ่ายค่า FiT หรือเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว