Search

ค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า ที่ปตท.เรียกเก็บจากโรงไฟฟ้าเอกชนไม่เท่ากัน

โรงไฟฟ้าเอกชนที่ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer: SPP) และไฟฟ้าจาก สปป.ลาว

โรงไฟฟ้าเหล่านี้ใช้ก๊าซธรรมชาติที่ซื้อมาจาก ปตท. แต่ ปตท. เรียกเก็บค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า (margin) ไม่เท่ากัน 

โดยในปี 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดให้โรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้า IPP ต้องจ่ายให้ ปตท. 1.75% แต่โรงไฟฟ้า SPP ต้องจ่ายค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้าสูงถึง 9.33% ภาระของการจ่ายค่าดำเนินการในอัตราที่แพงกว่าของโรงไฟฟ้า SPP จึงถูกส่งผ่านไปยังผู้ใช้ไฟในที่สุด

โดยในรายงานการศึกษาของอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อปี 2545 ได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า หากสามารถลดค่าดำเนินการของ SPP ลงได้ จะทำให้ค่า Ft ลดลงได้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น จากกราฟจะเห็นว่า หากมีการลดค่าดำเนินการที่ ปตท. คิดกับ SPP ให้เท่ากับค่าดำเนินการ ที่ ปตท. คิดกับ กฟผ. และ IPP จะลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าไปได้ถึงปีละกว่า 2,000 ล้านบาท หรือใน 15 ปีที่ผ่านมา เราจ่ายส่วนต่างค่าดำเนินการไปแล้วกว่า 33,000 ล้านบาท

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ชวนโหวตความเห็นต่อร่างแผน PDP 2024

เสียงโหวตของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนมีความหมาย

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี

คู่มือฉบับย่อ โครงสร้างพลังงานไทย ทำไม #ค่าไฟแพง

ชวนทำความเข้าใจโครงสร้างค่าไฟผ่านข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงาน โรงไฟฟ้าทั้งหมดในไทยมีกี่โรง ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วไฟฟ้าของไทยมาจากเชื้อเพลิงชนิดใด เป็นสัดส่วนเท่าไร เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไหนผลิตไฟฟ้า รวมถึงชวนดูการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในแผน PDP ที่ส่งผลต่อค่าไฟของเรา ชวนดูข้อมูลว่าเราจะไปสู่โซลาร์ภาคประชาชนได้หรือไม่ และเราจะไปถึง Net Zero ทันเวลาไหม