Search

ค่าความพร้อมจ่าย ที่ต้องจ่ายแม้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องไม่เต็มกำลัง

แต่ละปีมีค่าใช้จ่ายที่ กฟผ. ต้องจ่ายให้โรงไฟฟ้าเอกชนในการผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตามสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น ปี 2566 ที่ผ่านมา กฟผ. ต้องจ่ายเงินซื้อไฟฟ้าจากเอกชน ประมาณ 484,615  ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยค่าพลังไฟฟ้า (CP) ค่าความพร้อมจ่าย (AP) และค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) โดยค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) จะจ่ายเมื่อมีการเดินเครื่องเท่านั้น แต่กลับพบว่า กำลังไฟฟ้าที่เอกชนผลิตป้อนเข้าสู่ระบบนั้นมีการผลิตเพียง 47.7% ซึ่งเป็นผลจากการเดินเครื่องไม่เต็มกำลัง เพราะเราไม่ได้ใช้ไฟฟ้าเต็มกำลังการผลิตที่มีในระบบ

แม้จะได้ไฟไม่เต็มตามกำลังการผลิต แต่เนื่องจากสัญญาการซื้อขายไฟฟ้ากำหนดให้เราต้องจ่ายค่าพลังไฟฟ้า (CP) และค่าความพร้อมจ่าย (AP) ในราคาเต็ม ซึ่งเท่ากับว่า เมื่อคำนวณแล้วเราสูญเสียเงินในปี 2566 ให้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เฉลี่ยราว 49,294 ล้านบาท

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ในปีที่ผ่านๆ มา โรงไฟฟ้าเอกชนไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ ทำให้คนไทยต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าในส่วนที่ไม่ได้ผลิตทุกๆ ปี โดยในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา คนไทยต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ไปแล้วประมาณ 533,197 ล้านบาท ซึ่งภาระก้อนนี้นี่เองที่ถูกผลักเข้ามาอยู่ในบิลค่าไฟของเรา

และนอกจากค่าใช้จ่ายข้างต้น ยังมีแนวโน้มว่า เรายังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายในอนาคตมากกว่าเดิมมาก เนื่องจากรัฐยังเดินหน้าอนุมัติให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใหม่ๆ อยู่เป็นระยะ

หมายเหตุ 
1)  เนื่องจากข้อมูลของ กฟผ. ที่สามารถสืบค้นได้ทางสาธารณะ ไม่ระบุรายละเอียดว่าเป็นการจ่ายเงินให้โรงไฟฟ้าประเภทใดบ้าง จึงไม่สามารถแยกโรงไฟฟ้า SPP ประเภทสัญญาแบบ non-firm ซึ่งไม่มีค่า CP และ AP ได้ ทั้งนี้ กฟผ. ซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า SPP ประเภทสัญญาแบบ non-firm ในสัดส่วนน้อยมาก
2) เนื่องจากค่า CP และ AP แต่ละโรงไม่เท่ากัน ค่า CP และ AP ที่นำเสนอจึงเป็นค่าเฉลี่ยจากการประมาณการเบื้องต้นจากข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้ทางสาธารณะ

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ย้อนรอย PDP แผนนี้ใครกำหนด…?

แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอแล้วกับโรงไฟฟ้าก๊าซ ขอโซลาร์เซลล์เต็มศักยภาพและรัฐต้องสนับสนุน

ชาวใต้เสนอว่าไม่มีความจำเป็นที่ PDP 2024 จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ชวนโหวตความเห็นต่อร่างแผน PDP 2024

เสียงโหวตของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนมีความหมาย

13 ข้อสังเกตต่อร่างแผน PDP2024

จากการที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผน PDP ฉบับใหม่ หลังจากใช้แผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มาตั้งแต่ปี