Search

โซลาร์ที่ถูกกั้นไว้ด้วยกลไกรัฐ

ปัจจุบันต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกมาก และประชาชนจำนวนมากก็พร้อมจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน แต่กลับเดินหน้าต่อไปไม่ได้ เพราะกลไกรัฐไม่เอื้อให้เกิด

ในประเทศไทย การรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ต้องผ่านภาครัฐเป็นคนรับซื้อเท่านั้น โดยกำหนดปริมาณรับซื้อที่จำกัดในแต่ละรอบ แต่ละปี และบางช่วงก็ไม่เปิดรับซื้อเลยเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีโครงการโซลาร์เซลล์ภาคประชาชนรับซื้อในช่วงปี 2564-2573 รวม 90 เมกะวัตต์ สำหรับบ้านเรือนเท่านั้น ส่วนอาคารภาคธุรกิจ และโรงงานภาคอุตสาหกรรม ไม่เปิดรับซื้อเลยทั้งๆ ที่ศักยภาพโซลาร์รูฟท็อปของประเทศไทยมีมากกว่า 34,000 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการขอติดตั้งยังสร้างภาระให้ประชาชนเกินควร การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หากอยู่ในกลุ่มที่มีขนาดการติดตั้งไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ ในการปฏิบัติตามกฎหมายปัจจุบันจะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานถึง 3 หน่วยงาน ทำให้ต้องใช้เวลานาน

แม้ว่าหลังคาบ้านเราจะผลิตไฟฟ้าจนเหลือใช้ แต่ประชาชนก็ยังไม่สามารถซื้อขายกันเองหรือบริจาคไฟฟ้าให้ผู้ที่ต้องการได้ เช่น โรงพยาบาล เพราะติดกฎระเบียบ หรือในการขายคืนให้แก่การไฟฟ้า ไม่มีการหักลบกลบหน่วยไฟฟ้า (Net Metering) ที่ใช้จากการไฟฟ้ากับไฟฟ้าที่ผลิตได้จากหลังคาบ้าน และราคาขายคืนไฟฟ้าเข้าสายส่งก็ต่ำ เพียงหน่วยละ 2.20 บาท แต่ปัจจุบัน (ม.ค. – เม.ย. 67) เราจ่ายค่าไฟให้การไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 4.18 บาท

ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ยังไม่มีมาตรการจูงใจที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการหักลบกลบหน่วยไฟฟ้า มาตรการทางภาษี หรือมาตรการทางการเงินและงบประมาณในการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์

หากสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ได้ ไม่เพียงผู้บริโภคจะสามารถลดจำนวนเงินค่าไฟที่เคยไหลออกอย่างเดียวลงได้ แต่จะทำให้เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2608 (2065) ของไทยอยู่ไม่ไกลเกินจริงนัก

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

สรุปประเด็น ‘ค่าไฟแพง’ ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’  24 มี.ค. 2568

ใน ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร’ วันที่ 24 มีนาคม 2568 มีการกล่าวถึงนโยบายค่าไฟฟ้าของรัฐบาลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่าความพร้อมจ่าย โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แผน PDP 2024 ล่าช้า และการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนใหม่ในลาว

เสียงจากเวทีที่อุบลฯ ไม่เอาเขื่อน(เพิ่ม)ได้ไหม

เสวนา “คนอุบลเอาบ่? : น้ำท่วม เขื่อนใหม่ ค่าไฟแพง” เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 68 เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers : Against Dams)

สร้างเขื่อนผลิตไฟในลาวให้ไทย คุ้มค่าสำหรับใคร

เนื่องในวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล หรือวันหยุดเขื่อนโลก (International Day of Action for Rivers

ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 

สำรวจความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมดูว่ากลุ่มบริษัทไหนได้โควต้าบ้าง