ประเทศไทยบนทางแพร่งของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

ธัญญาภรณ์ สุรภักดี
โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย

Net zero emission คำตอบที่ต้องลงมือทำเพื่ออนาคต

หากพูดถึงโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) คงไม่มีใครปฏิเสธถึงการมีอยู่ของปัญหาเหล่านี้ และนับเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงที่เราทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้า ถือเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี 2562 พบว่า อุตสาหกรรมพลังงาน (Energy industries) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดจำนวน 103.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) คิดเป็นร้อยละ 28 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดคือ 372.ล้านตันคาร์บอนฯเทียบเท่า

การเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy transition) โดยเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตไฟฟ้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพหรือ Energy efficiency จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งเดินหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net zero emission) โดยประเทศไทยกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30-40% ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) (จากก๊าซเรือนกระจกจำนวน 555 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) ซึ่งเป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกรณีดำเนินงานปกติ (Business As Usual: BAU) ในปี 2573 ) และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050)  รวมถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในหรือก่อนปี 2608 (ค.ศ.  2065)

ก๊าซธรรมชาติสะอาดจริงหรือ…?

เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2529-2565 จะเห็นได้ว่าเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ไฟฟ้าที่เราใช้ถูกผลิตจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รองลงมาคือถ่านหิน และการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนพลังงานหมุนเวียนถูกเริ่มนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในช่วง 20 ปีหลัง โดยในปี 2565 สัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 10% ขณะที่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ คิดเป็น 53%

จากการที่ประเทศไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติมากที่สุด (เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน และน้ำมัน) ถึงแม้ในแง่การผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย น้ำมัน และถ่านหินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าก๊าซธรรมชาติก็ตาม

จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ณ ปี 2565 กำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบทั้งหมดยังคงพึ่งก๊าซธรรมชาติเป็นหลักประมาณ 57% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ขณะที่พลังงานหมุนเวียนมีอยู่ในระบบประมาณ 13% 

เรากำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงาน?

ถึงแม้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีแผนจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในช่วงปี 2564-2573 และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ หรือ PDP 2023 (ปี 2566-2580) โดยเน้นให้มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50%

แต่อีกด้านหนึ่งก็มีนโยบายเน้นการเปิดเสรีและจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบบพลังงานของประเทศ รวมถึงนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG (Liquified Natural Gas) เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวของอาเซียน หรือ Regional LNG Hub

เมื่อพิจารณาความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติและปริมาณที่มีในประเทศ รวมถึงการนำเข้าจากพม่า จะพบว่าในขณะที่ความต้องการใช้งานก๊าซธรรมชาติยังคงมีอยู่ แต่ปริมาณก๊าซธรรมชาติจากทั้ง 2 แหล่งมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ตัวเลขการนำเข้า LNG เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มมีการนำเข้าเมื่อปี 2554 จนกระทั่งปี 2563 ปริมาณการนำเข้า LNG ของไทยแซงหน้าการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า รวมถึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยมากขึ้น ถึงแม้จะเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นก็ตาม

อีกทั้งในแผนบริหารจัดก๊าซธรรมชาติ ปีค.ศ. 2018 (Gas Plan 2018) ได้คาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มจาก 4,676 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2561 เป็น 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2580 ซึ่งความต้องการใช้งานก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคการผลิตไฟฟ้า รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซ(กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) และภาคขนส่ง

จากการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ทำให้ต้องมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน เนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในอ่าวไทยและพม่า รวมถึง LNG ที่เป็นสัญญาระยะยาวมีแนวโน้มลดลง

ในปี 2580 ก๊าซจากพม่าและอ่าวไทยรวมกันคิดเป็น 32% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมด นั่นหมายความว่าเราต้องจัดหาก๊าซธรรมชาติมาเพิ่มอีก 68% เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ซึ่งดูเหมือนว่าคำตอบที่อยู่ใน Gas plan 2018 คือการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้น

ทางแพร่งของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

จะเห็นได้ว่าการผลิตไฟฟ้าของไทยยังคงพึ่งก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะพึ่งพิงต่อไปในอนาคต จนดูเหมือนเราไม่สามารถหลุดพ้นจากวังวนของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้เลย

ในขณะที่ภูเขาอีกลูกของการเปลี่ยนผ่านพลังงานนั่นก็คือ ประเทศไทยเผชิญกับปัญหากำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองล้นเกินมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ และแน่นอนว่าโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ในระบบเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งใน 10 ปีข้างหน้า(ปี 2566-2576)  จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ รวมถึงซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 11,700 เมกะวัตต์ (ดังตารางที่ 1) (ไม่รวมการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก(SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP))  ซึ่งต้นทุนทั้งหมดถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภคผ่านบิลค่าไฟ

ที่มา:

1/ รายงานประจำปี 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สืบค้นจาก https://www.egat.co.th/home/wp-content/uploads/annual/2565/
2/  สถานภาพรับซื้อไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ, กฟผ. (ข้อมูล ณ 15 กันยายน 2566) สืบค้นจาก https://www.ppa.egat.co.th/fppdx/

ที่สำคัญคือ อายุของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 25 ปี และหากไทยยังต้องพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติต่อไป นั่นหมายความว่า เราต้องเดินหน้านำเข้า LNG เพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างท่าเทียบเรือ (LNG receiving terminal) เพื่อรองรับการนำเข้า LNG

ปัจจุบัน ไทยมีท่าเทียบเรือ LNG อยู่ 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และกำลังจะมีแห่งที่ 3 อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ โดยตั้งอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดเช่นเดียวกัน

สถานการณ์ตอนนี้เหมือนว่าเรากำลังยืนอยู่บนทางแพร่งระหว่างการเดินหน้าสู่พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคงพลังงาน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย LNG ของภูมิภาค

นำมาซึ่งคำถามสำคัญคือ เส้นทางเหล่านี้เป็นเส้นทางที่สามารถเดินไปพร้อมกันได้หรือไม่ หากเป้าหมายสูงสุดที่ทุกคนต้องการคือการพัฒนาที่ยั่งยืน นี่คือคำถามที่เราต้องการการพิจารณาและใคร่ครวญอย่างรอบคอบ เพื่อส่งมอบอนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไป 

บทความยอดนิยม

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคอีสานตอนเหนือในช่วงเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแถบจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงจากทั้งพายุ ฝนตกหนักและการที่เขื่อนในแม่น้ำโขงปล่อยน้ำ ทำให้แม่น้ำสาขาในแต่ละจังหวัดไม่สามารถระบายน้ำลงแม่น้ำโขง จนเกิดการเอ่อล้นและท่วมในหลายพื้นที่ ในขณะเดียวกันภายใต้กรอบ MOU

ในยุคที่เรียกกันติดปากว่า “ของแพง ค่าแรงถูก” ปัญหาหนักอกของคนไทยทั้งประเทศก็คือ สินค้า และบริการที่กำลังขึ้นราคานั้นหลายชนิดไม่ใช่ของหรูหราราคาแพงที่นานๆ เราจะซื้อที แต่เป็นของที่เราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ไม่เว้นแม้แต่ “ค่าไฟฟ้า” สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตสมัยใหม่

ในช่วงต้นปี 2568 รัฐบาลเดินหน้าลดภาระค่าครองชีพของประชาชนผ่านมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับค่าไฟฟ้าเรียกเก็บสำหรับรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2568 อยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย ลดลงจากงวดก่อนหน้า 3 สตางค์/หน่วย โดยยืดการจ่ายหนี้ค่าไฟฟ้าและค่าก๊าซฯ ของ กฟผ. และ ปตท. ที่สะสมอยู่จำนวน 85,226 ล้านบาท ออกไปก่อน ความพยายามที่จะลดค่าไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยเน้นย้ำที่จะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะผู้ช่วยหาเสียของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568  ประกาศถึงความตั้งใจที่จะลดค่าไฟฟ้าให้อยู่ที่ 3.70 บาท/หน่วยให้ได้  เพื่อตอบรับนโยบายลดค่าไฟฟ้านี้ ในวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน […]

พีดีพีคืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับบิลค่าไฟของเรา
แผน PDP มีที่มาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

พีระพันธุ์เรียกร้องเปิดสัญญาซื้อไฟจากเอกชน และปรับสัญญาเพื่อลดภาระค่าไฟของประชาชน

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นแขกรับเชิญในรายการ ‘Behind the Bill – ผลประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า’ ผ่านการไลฟ์สดโดยเฟซบุ๊กเพจ ‘โอกาส Chance’ เมื่อวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยเปิดรายละเอียดโครงสร้างการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ทำให้ประชาชนต้องแบกรับต้นทุน และแนวทางในการทำให้ค่าไฟของคนไทยถูกลง  โดยในช่วงแรกเป็นการให้ภาพและข้อมูลพื้นฐานในการปรับค่าไฟ พร้อมชี้ให้เห็นว่าแม้ค่าไฟจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าค่าไฟแพง เนื่องจากต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ “หากดูจากตัวเลขอย่างเดียว ค่าไฟของเราที่ 4.15 บาทในช่วงต้นปี 2567 อาจดูไม่แพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น เวียดนาม (3.16 บาท), ฟิลิปปินส์ (5.3 บาท), อินโดนีเซีย (3.16 บาท), มาเลเซีย (1.87 บาทเพราะรัฐบาลช่วยออกเหมือนค่าน้ำมัน), สิงคโปร์ (7.22 บาท), เกาหลีใต้ (4.48 บาท), และสหรัฐอเมริกา (6.12 บาท) แต่ความเป็นจริงถ้าเทียบกับค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแล้ว ค่าไฟของเราถือว่าแพง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดว่า […]

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาคพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เนื่องด้วยวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก JustPow ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคพลังงานของไทย โดยเฉพาะประเด็นการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของไทยที่ดูเหมือนว่าในอนาคตจะลดลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการเดินทางไปสู่การเป็นประเทศ Net

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงานวิจัย Thailand: Turning Point for a Net-Zero Power Grid โดย BloombergNEF

BloombergNEF (BNEF) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยเชิงกลยุทธ์ชั้นนำที่ครอบคลุมทั้งประเด็นเรื่องพลังงานสะอาด การขนส่งขั้นสูง อุตสาหกรรมดิจิทัล ผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม ภายใต้บริษัท Bloomberg

รายงานจาก BloombergNEF ชี้ “ต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่”

รายงานชี้ ปี 2025 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในไทยจะถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหินอย่างชัดเจน โดยเฉลี่ยเพียง 33-75 ดอลลาร์สหรัฐ/MWh